วิธีการเชิงพันธุกรรมสำหรับการวิเคราะห์ปัญหาตำแหน่งที่ตั้ง เพื่อการจัดการซากคอมพิวเตอร์ในอนาคต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อนำเสนอวิธีการหาตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์รวบรวมและโรงงานรีไซเคิลสำหรับการจัดการซากคอมพิวเตอร์ โดยที่ตำแหน่งดังกล่าวเป็นองค์ประกอบของระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับ ซึ่งประกอบไปด้วย 1) จุดรวบรวม 2) ศูนย์รวบรวม 3) โรงงานรีไซเคิล และ 4) ตลาดวัสดุรีไซเคิล โดยได้นำวิธีการเชิงพันธุกรรมมาใช้ในการหาคำตอบที่เหมาะสมของตำแหน่งที่ตั้ง ที่ก่อให้เกิดต้นทุนรวมที่พิจารณาตำสุดซึ่งประกอบด้วย 1) ต้นทุนของศูนย์รวบรวม 2) ต้นทุนของโรงงานรีไซเคิล และ 3) ต้นทุนค่าขนส่ง โดยข้อมูลตัวอย่างที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์ผลเชิงตัวเลขผลลัพธ์จากวิธีการเชิงพันธุกรรมให้คำตอบที่เหมาะสมว่าตำแหน่งที่ตั้งของศูนย์รวบรวมมี 2 แห่งคือ แหล่งที่ j เท่ากับ 3 และ 7 ส่วนโรงงานรีไซเคิลมี 1 แห่งคือ แหล่งที่ k เท่ากับ 2 และมีต้นทุนรวมเท่ากับ 6,470,950 บาทต่อปี ซึ่งในอนาคตสามารถนำแนวทางที่วิเคราะห์ได้นี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาจริงของการจัดการซากคอมพิวเตอร์ต่อไป
คำสำคัญ: วิธีการเชิงพันธุกรรม ปัญหาตำแหน่งที่ตั้ง ซากคอมพิวเตอร์
Abstract
The objective of this research was to present a location analysis method of collection center and recycling plant for managing computer scraps. These locations were a part of reverse logistics system consisting of: 1) collecting point 2) collection center 3) recycling plant and 4) recycled material market. Genetic algorithm was employed to determine the optimum location by minimizing the total costs including 1) cost of collection center 2) cost of recycling plant and 3) cost of transportation. The example data determined by researchers, were used to analyze by the numerical method. The output from genetic algorithms revealed that the optimum point needs 2 collection centers; node j = 3 and 7, and 1 recycling plant; node k = 2. The total cost was 6,470,950 baht per year. In the future, this research could be applied for solving the real case of the computer scraps problem.
Keywords: Genetic Algorithms, Location Problem, Computer Scraps
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น