การพัฒนาระบบการประเมินต้นทุนการผลิต กรณีศึกษาโรงงานผลิตคอยล์สปริงสำหรับยานยนต์

Main Article Content

อิงดาว วิมล
สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์กรณีศึกษาประสบปัญหาในการประมาณการต้นทุน เนื่องจากวิธีการที่ใช้ไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับสภาพการดำเนินงานที่เป็นปัจจุบันทำให้ต้นทุนประมาณการแตกต่างจากต้นทุนที่แท้จริงอย่างมาก ส่งผลต่อการตั้งราคาผลิตภัณฑ์และการทำกำไรของโรงงาน งานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงวิธีการประมาณการต้นทุนให้เป็นมาตรฐาน โดยปรับการแบ่งโครงสร้างต้นทุนให้เป็นมาตรฐาน ปรับต้นทุนวัตถุดิบให้รวมค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งหมดทั้งที่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีและของเสีย ปรับข้อมูลกำลังการผลิตโดยพิจารณาประสิทธิภาพของเครื่องจักร ปรับการประมาณการปริมาณผลิตจากค่าเฉลี่ยให้เป็นปริมาณผลิตจริงที่เปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละเดือน และปรับข้อมูลเวลามาตรฐานให้เป็นปัจจุบัน ทำให้ได้คู่มือในการจัดทำต้นทุนการผลิตที่เป็นมาตรฐาน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินต้นทุนการผลิต ผลของงานวิจัยนี้สามารถลดผลต่างต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างก่อนการปรับปรุงร้อยละ 7.96 เหลือร้อยละ 2.59 ทำให้โรงงานสามารถประเมินต้นทุนการผลิตได้อย่างเหมาะสม และนำไปสู่แนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพในอนาคต

คำสำคัญ: การประเมินต้นทุนการผลิต ต้นทุนมาตรฐาน

Abstract

Many automotive part factories are facing the problem of poor cost estimation due to inappropriate method and not in line with the actual cost situation. This results in a high discrepancy between the estimated cost and the actual cost. The inaccurate estimated cost causes ineffectiveness of cost control, product pricing, and profit. This research was to establish the standard cost estimation by adjusting standard cost structure division, calculating the raw material cost including products and defects, considering production capability based on the machine efficiency, changing the estimation of average production quantity into adjustable monthly real production volume and adjusting standard time into real time. Consequently, the standard handbook and the standard computer program for production cost system are delivered. The results of this research can narrow the gap between the estimated cost and the actual cost before the development from 7.96% to 2.59% leading to more accurate cost assessment and a better effective future development.

Keywords: Production Cost Assessment System, Standard Cost

Article Details

บท
บทความวิจัย