การพัฒนารูปแบบศักยภาพของวิศวกรซอฟต์แวร์ในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลเพื่อการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังพลิกผันสังคมมนุษย์ให้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ส่งผลให้องค์กรธุรกิจจะต้องใช้วิศวกรซอฟต์แวร์เข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แต่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีศักยภาพในตลาดแรงงาน องค์กรธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพวิศวกรซอฟต์แวร์ให้เป็นผู้ผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย การวิจัยในครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาองค์ประกอบศักยภาพที่จำเป็นของวิศวกรซอฟต์แวร์ในการทำงานเพื่อสร้างศักยภาพให้แก่องค์กรธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้องค์กรธุรกิจมีรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ โดยการวิจัยใช้เทคนิคเดลฟายและการประชุมสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบศักยภาพที่วิศวกรซอฟต์แวร์จำเป็นจะต้องมีในการทำงาน และจัดทำรูปแบบศักยภาพของวิศวกรซอฟต์แวร์ในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลเพื่อการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบศักยภาพที่ผ่านเกณฑ์ฉันทามติของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายเป็นองค์ประกอบด้านความรู้จำนวน 11 องค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 15.71 องค์ประกอบด้านทักษะจำนวน 21 องค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 30.00 องค์ประกอบด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 24 องค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 34.28 และองค์ประกอบที่ผ่านเกณฑ์ฉันทามติมาพัฒนาเป็นรูปแบบศักยภาพของวิศวกรซอฟต์แวร์ ซึ่งองค์ประกอบด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโค้ดและการประมวลผล ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของซอฟต์แวร์ ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ และความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรม ส่วนองค์ประกอบด้านทักษะประกอบด้วยทักษะในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทักษะในการออกแบบซอฟต์แวร์ ทักษะด้านกระบวนการคิด ทักษะด้านการจัดการ ทักษะด้านการสื่อสาร และทักษะภาษาอังกฤษ และในองค์ประกอบด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ประกอบด้วยความรับผิดชอบในงาน พฤติกรรมที่ส่งเสริมความสำเร็จในการทำงาน การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และความเป็นผู้นำ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
C. Loetamnatkitseri, “Digital economy: Emergence and evolution,” MCU Peace Studies Journal, vol. 10, no. 5, pp. 2273–2283, 2022 (in Thai).
M. Tongmak. (2021) Digital Technology for Business. [Online] (in Thai). Available: http://mdc. library.mju.ac.th/ebook/9786165861090.pdf
Thairath Online. (2016). Crack the Code for “Thailand 4.0” to Create a New Economy Overcoming the Middle Income Trap [Online] (in Thai). Available: https://www.thairath.co.th/ business/613903
Digital Economy Promotion Agency. (n.d.). The Digital Economy Situation Analysis. [Online] (in Thai). Available: https://www.depa.or.th/th/ article-view/thailand-digital-economy-glance
Digital Economy Promotion Agency. (2022). The Digital Economy Situation Analysis. [Online] (in Thai). Available: https://www.depa.or.th/th/ article-view/thailand-digital-economy-glance
Prachachat. (2023). Southeast Asia University Launches the Courses to Develop Software Engineers and Web Developers to Enter the Market. [Online] (in Thai). Available: https:// www.prachachat.net/education/news-1362431
Prachathai. (2018). Pointing out that The Number of Digital Workforce is High but It Actually Works Very Little and Contrary to the Demands of the Business Sector. [Online] (in Thai). Available: https://prachatai.com/ journal/2018/05/76929
T. Weerakhajornpong. (2023). Guidelines for Maintaining Tech Talent in The Time of Severe Shortage Crisis. [Online] (in Thai). Available: https://www.thaipr.net/it/3364186
B. Inrun, “Developing model of digital technicians competencies in digital industries,” D.B.A. thesis, Industrial Business and Human Resource Development, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2021 (in Thai).
N. Tebrod, “The management potential development model for artificial intelligence technologists in the public sector,” D.B.A. thesis, Industrial Business and Human Resource Development, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2021 (in Thai).
T. Silpcahru, Research and Statistic Data Analysis by SPSS and AMOS. Bangkok: S. R. Printing Massproducts Company Limited, 2017 (in Thai).
C. Charutwinyo, “Competency model of software developer in Thailand : A qualitative exploration,” Advanced Trends in Computer Science and Engineering International Journal, vol. 10, no.3, pp. 1524–1532, 2021 (in Thai).