การประยุกต์วิธีเพิ่มอุณหภูมิแบบขั้นบันไดเพื่อประมาณความเครียดคงค้างของตาข่ายเสริมกำลังพอลิโพรพิลีนเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรในระยะยาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงสร้างดินเสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมกำลังสังเคราะห์มักต้องรองรับแรงวัฏจักรในระหว่างการใช้งาน เช่น น้ำหนักจราจร ซึ่งจะทำให้เกิดแรงดึงวัฏจักรกระทำต่อวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์ แรงดึงวัฏจักรนี้ทำให้เกิดความเครียดคงค้างในวัสดุเสริมกำลังซึ่งอาจส่งผลต่อการเสียรูปโดยองค์รวมของโครงสร้างดินเสริมกำลังที่มากเกินไป งานวิจัยนี้สนใจศึกษาการเกิดความเครียดคงค้างระยะยาวในตาข่ายเสริมกำลังชนิดพอลิโพรพิลีนเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรที่มีระดับแรงกระทำสูงสุด แอมพลิจูดและความถี่แตกต่างกัน โดยใช้การเพิ่มอุณหภูมิแวดล้อมแบบขั้นบันไดจาก 30 ถึง 50 องศาเซลเซียส และใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงต่อระดับอุณหภูมิเพื่อร่นระยะเวลาการทดสอบ ผลการทดสอบนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดคงค้างกับจำนวนรอบที่อุณหภูมิอ้างอิง (30 องศาเซลเซียส) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงกระทำสูงสุด แอมพลิจูดและความถี่ต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดคงค้างเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อระดับแรงกระทำสูงสุดเพิ่มขึ้น แต่จะมีค่าลดลงเมื่อแอมพลิจูดเพิ่มขึ้น ในขณะที่อิทธิพลของความถี่ไม่มีนัยสำคัญซึ่งกล่าวได้ว่า ความเครียดคงค้างเมื่อรับแรงดึงวัฏจักรนั้นเกิดจากสมบัติที่ขึ้นกับอัตราความเครียดของตาข่ายเสริมกำลังเป็นหลัก ในขณะที่อิทธิพลของแรงดึงวัฏจักรที่ไม่ขึ้นกับอัตราความเครียดนั้นไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงคำสำคัญ: การทดสอบแรงดึง ความเครียดคงค้าง ตาข่ายเสริมกำลัง แรงวัฏจักร อุณหภูมิ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
D. Hirakawa, W. Kongkitkul, F. Tatsuoka, and T. Uchimura, “Time-dependent stress-strain behaviour due to viscous properties of geogrid reinforcement,” Geosynthetics International, vol. 10, no. 6, pp. 176–199, 2003.
W. Kongkitkul, W. Tabsombut, C. Jaturapitakkul, and F. Tatsuoka, “Effects of temperature on the rupture strength and elastic stiffness of geogrids,” Geosynthetics International, vol. 19, no. 2, pp. 106–123, 2012.
W. Kongkitkul, D. Hirakawa, F. Tatsuoka, and T. Uchimura, “Viscous deformation of geosynthetic reinforcement under cyclic loading conditions and its model simulation,” Geosynthetics International, vol. 11, no. 2, pp. 73–99, 2004.
J. S. Thornton, “Conventional and stepped isothermal methods for characterizing longterm creep strength of polyester geogrids,” Proc. of the 6th International Conference on Geosynthetics, Atlanta, vol. 2, pp. 691–698, 1998.
W. Kongkitkul and F. Tatsuoka, “A theoretical framework to analyse the behaviour of polymer geosynthetic reinforcement in temperatureaccelerated creep tests,” Geosynthetics International, vol. 14, no. 1, pp. 23–38, 2007.
F. Tatsuoka, “Inelastic deformation characteristics of geomaterial,” Solid Mechanics and its Applications, vol. 146, pp. 1–108, 2007.
W. Kongkitkul, D. Hirakawa, and F. Tatsuoka, “Residual deformation of geosyntheticreinforced sand in plane strain compression affected by viscous properties of geosynthetic reinforcement,” Soils and Foundations, vol. 48, no. 3, pp. 333–352, 2008.
U. Aqil, F. Tatsuoka, T. Uchimura, T. N. Lohani, Y. Tomita, and K. Matsushima, “Strength and deformation characteristics of recycled concrete aggregate as a backfill material, Soils and Foundations, vol. 45, no. 5, pp. 53–72, 2005.