การพัฒนาทักษะการจัดผังบริเวณโดยใช้ความจริงเสมือนแบบดื่มด่ำ

Main Article Content

ศวิษฐ์ พิริยะสุรวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดการพัฒนาทักษะการจัดผังบริเวณ (Space Planning Skills) โดยใช้ความจริงเสมือนแบบดื่มด่ำ (Immersive Virtual Reality) และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการจัดผังบริเวณโดยใช้ความจริงเสมือนแบบดื่มด่ำ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ความจริงเสมือนแบบดื่มด่ำเพื่อการจัดสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์แบบทันทีทันใดกับผู้ออกแบบ (Dynamic Real Time Visualizations) บนสภาพแวดล้อมของอาคารชุดพักอาศัย และแบบประเมินทักษะการจัดผังบริเวณแบบรูบริค (Scoring Rubrics) กลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมและออกแบบภายใน จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า กรอบแนวคิดการพัฒนาทักษะการจัดผังบริเวณโดยใช้ความจริงเสมือนแบบดื่มด่ำ ในส่วนการเรียนรู้ (Learning Process) ประกอบด้วย 1. การสำรวจและประเมินสภาพแวดล้อมพื้นที่ภายใน 2. ตรวจสอบประเภทเครื่องเรือน 3. จัดวางเครื่องเรือนภายในพื้นที่ และ 4. สร้างมุมมองเพื่อการนำเสนอ ในด้านทักษะการจัดผังบริเวณโดยใช้ความจริงเสมือนแบบดื่มด่ำ มีค่าคะแนนทักษะการจัดผังบริเวณอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (ร้อยละ 74.28) จำนวน 6 คน โดยสามารถพัฒนาทักษะการจัดผังบริเวณให้เกิดความสมดุลระหว่างเครื่องเรือนกับระยะห่างของเครื่องเรือน และจัดวางเครื่องเรือนให้สอดคล้องกับขนาดของห้อง การพัฒนาทักษะการจัดผังบริเวณโดยใช้ความจริงเสมือนแบบดื่มด่ำจะช่วยลดปัญหาของผู้เรียนในการเข้าใจปัญหาของสภาพแวดล้อม และสามารถลดข้อจำกัดทางกายภาพที่ไม่สามารถจำลองบนพื้นที่จริง การวิจัยนี้ยังพบว่าการใช้ความจริงเสมือนแบบดื่มด่ำเป็นวิธีที่เหมาะสม ช่วยให้นักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมและออกแบบภายในในช่วงชั้นปีแรกให้เข้าใจแนวคิดของการจัดผังบริเวณได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านสถาปัตยกรรม

References

A. Indraprastha and M. Shinozaki, “The investigation on using unity3D game engine in urban design study” ITB Journal of Information and Communication Technology, vol. 3, no. 1, pp 1–18, 2009.

Y. Lin, C. Pan, and J. Kuo, “Multiuser interior design over the internet” in Proceedings of the 37th Conference on Winter Simulation, 2006, pp. 569–575.

M. Mihelj, D. Novak, and S. Beguš, Virtual Reality Technology and Applications. Intelligent Systems, Control and Automation: Science and Engineering 68, Springer Science and Business Media Dordrecht, 2014.

K. Prit, M. Archana, and H. Ben, “Design implications for adaptive augmented reality based interactive learning environment for improved concept comprehension in engineering paradigms,” Interactive Learning Environments, vol. 30, no. 4, pp. 589–607, 2019.

Y. Liu, F. Castronovo, J. Messner, and R. Leicht, “Evaluating the impact of virtual reality on design review meetings,” Journal of Computing in Civil Engineering, vol. 34, no. 1, pp. 1–13, 2020.

H. C. Gomez-Tone, M. A. Chávez, L. V. Samalvides, and J. M.-Gutierrez, “Introducing immersive virtual reality in the initial phases of the design process—Case Study: Freshmen designing ephemeral architecture,” Buildings, vol. 12, no. 5, pp. 518, 2022.

R. Yan, A. Masood, P. Li, S. G. Ali, B. Sheng, and J. Ren, “3D simulation of interior house design in VR using VR3ID method,” presented at the 2018 IEEE International Conference on Progress in Informatics and Computing (PIC), Suzhou, China, 2018.

M. Merleau-Ponty, D. Landes, T. Carman and C. Lefort, Phenomenology of perception. Routledge, 2012. [9] R. J. Teather and W. Stuerzlinger, “Pointing at 3D targets in a stereo head-tracked virtual environment,” in 2011 IEEE Symposium on 3D User Interfaces (3DUI), 2011, pp. 87–94.