การศึกษาปริมาณความต้องการเดินทางทางน้ำในอนาคต กรณีเส้นทางเดินเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา

Main Article Content

จันทร์นภา กาบแก้ว
เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความต้องการเดินทางทางน้ำตามเส้นทางเดินเรือโดยสารประจำทางแม่น้ำเจ้าพระยาในอนาคต เนื่องจากมีการพัฒนาความสามารถในการเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยากับระบบขนส่งทางรางหรือโครงการรถไฟฟ้าในอนาคต ในการศึกษาครั้งนี้จะทบทวนข้อมูลรูปแบบการเดินทางอื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อการเดินทางทางน้ำตามเส้นทางเดินเรือโดยสารประจำทางแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งในปัจจุบันและแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในอนาคต เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณความต้องการเดินทางทางน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตามเส้นทางเดินเรือโดยสารประจำทาง ซึ่งจะใช้หลักการการเดินทาง 4 ขั้นตอน (4-Step Model) จากโปรแกรมด้านแบบจำลองการเดินทาง หรือแบบจำลอง Extended Bangkok Urban Model; eBUM เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณความต้องการเดินทางในอนาคตของการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งในปัจจุบันท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยามีระบบขนส่งสาธารณะหลากหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง เช่น รถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะประจำทาง รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถตุ๊กตุ๊ก เรือ เป็นต้น และในอนาคตยังมีแผนพัฒนาระบบขนส่งรางเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการเดินทางทางน้ำทุก ๆ 5 ปี รวมทั้งสิ้น 20 ปี (พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2570 พ.ศ. 2575 พ.ศ. 2580 พ.ศ. 2585) ของเส้นทางเดินเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 1) กรณีที่ไม่มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางตามแผนพัฒนา พบว่าปริมาณความต้องการเดินทางทางน้ำมีการเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 1.08 ต่อปี เมื่อเทียบกับปีฐาน (พ.ศ. 2562) และ 2) กรณีที่มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางตามแผนพัฒนา ส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารทางน้ำเพิ่มขึ้นพบว่า มีการเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 2.03 ต่อปี เมื่อเทียบกับปีฐาน (พ.ศ. 2562)

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

K. Prachot, Passenger Transport, Bangkok: Ramkhamhaeng University, 1998 (in Thai).

Marine Department. (2021, September). Statistical data. Marine Department. Bangkok, Thailand [Online] (in Thai). Available: http:// md.go.th/stat-annual-report/

T. Ratchanee, “A study of Daily travel patterns of Industrial workers in Phra Pradaeng area,” Chulalongkorn University, 1991 (in Thai).

L. Thanutchai, “A study of Travel Demand Forecasting by Disaggregate Method for Bangkok and surrounding areas,” Bangkok: Chulalongkorn University, 2010 (in Thai).

Department of Highway. (2021, Deptember). Traffic Volume Statistics. Department of Highway. Bangkok, Thailand [Online] (in Thai). Available: http:// http://bhs.doh.go.th/download/traffic

P. Suramate. (2021, August). Chapter 3 Travel Demand Analysis (Documents for teaching engineering courses, Department of Transportation). Bangkok, Thailand [Online] (in Thai). http://www.surames.com/index.php ?lay=show&ac=article&Ntype=3

Office of Transport and Traffic Policy and Planning, “A study of Travel Demand Survey and Improve the movement of goods for the planning of the country's transportation system,” Ministry of Transport, Bangkok, Thailand. 2018 (in Thai).

Office of Transport and Traffic Policy and Planning, “A study project to adjust the master plan of the rail mass transit system in Bangkok and its vicinities (M-Map2),” Ministry of Transport, Bangkok, Thailand. 2021 (in Thai).

Office of Transport and Traffic Policy and Planning, “A study project to develop a water transport plan in Bangkok and its vicinities and connecting route,” Ministry of Transport, Bangkok, Thailand. 2022 (in Thai).