การศึกษาอิทธิพลของความหนาและวัสดุคั่นกลางของกระจกนิรภัยหลายชั้นสำหรับรถโดยสารขนาดใหญ่ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในกรณีชนคนเดินเท้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถยนต์กับคนเดินเท้ามีมากขึ้น โดยเหยื่อที่เสียชีวิตส่วนใหญ่คือคนเดินเท้าที่ถูกรถยนต์ชนจากด้านหน้า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาขนาดความหนาของกระจกและวัสดุคั่นกลางของกระจกนิรภัยหลายชั้น ที่เหมาะสมในกรณีการชนคนเดินเท้า และสำรวจความสามารถการรับแรงกระแทกของกระจกบานหน้าที่มีใช้อยู่ในรถโดยสาร โดยอาศัยสภาวะทดสอบอ้างอิงเกณฑ์การทดสอบ Pedestrian Protection (Euro NCAP) มาเป็นแนวทางในการออกแบบการทดสอบ ค่าเกณฑ์การบาดเจ็บของศีรษะ (Head Injury Criterion, HIC) และค่าพลังงานที่เกิดขึ้นกับกระจกถูกนำมาพิจารณา โดยนำกระจกบานหน้ารถยนต์ที่มีขนาดความหนาที่แตกต่างกัน 9 ขนาด มาทำการทดสอบ ผลการทดสอบพบว่ากระจกหลายชั้นความหนา 8 มิลลิเมตร เสริมด้วยวัสดุคั่นกลาง 1.14 มิลลิเมตร มีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานในกรณีการเกิดอุบัติเหตุที่มีความเร็วในการกระแทก 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากค่าเกณฑ์การบาดเจ็บของศีรษะ (HIC15) ที่ได้จากการทดสอบมีค่าเท่ากับ 496.25 นอกจากนี้ พบตัวอย่างการทดสอบที่น่าสนใจและให้ผลการทดสอบใกล้เคียงกันคือ กระจกหลายชั้นหนา 6 มิลลิเมตร เสริมวัสดุคั่นกลาง 1.14 มิลลิเมตร และ กระจกหลายชั้นหนา 10 มิลลิเมตร เสริมวัสดุคั่นกลาง 1.14 มิลลิเมตร ซึ่งมีค่าเกณฑ์การบาดเจ็บของศีรษะ 558.67 และ 565.98 ตามลำดับ ค่าเกณฑ์การบาดเจ็บของศีรษะของทั้งสองตัวอย่างไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
Dhipaya Insurance Public Company Limited, “Database of accidental information record between January 2012 and July 2013,” Dhipaya Insurance Public Company Limited, Bangkok, Thaikand, 2013 (in Thai).
S. Lakkam and S. Koetniyom, “Investigation of accident scenarios between pedestrians and city buses in Thailand,” International Journal of Automotive and Mechanical Engineering, vol. 12, pp. 3076–3088, 2015.
C. D. Untaroiu, M. U. Meissner, J. R. Crandall, Y. Takahashi, M. Okamoto, and O. Ito, “Crash reconstruction of pedestrian accidents using optimization techniques,” International Journal of Impact Engineering, vol. 36, no. 2, pp. 210–219, 2009.
J. Xu, Y. Li, X. Chen, Y. Yan, D. Ge, M. Zhu, and B. Liu, “Characteristics of windshield cracking upon low-speed impact: Numerical simulation based on the extended finite element method,” Computational Materials Science, vol. 48, no. 3, pp. 582–588, 2010.
J. Xu, Y. Sun, B. Liu, M. Zhu, X. Yao, Y. Yan, Y. Li, and X. Chen, “Experimental and macroscopic investigation of dynamic crack patterns in PVB laminated glass sheets subject to light-weight impact,” Engineering Failure Analysis, vol. 18, no. 6, pp. 1605–1612, 2011.
T. S. Valera and N. R. Demarquette, “Polymer toughening using residue of recycled windshields: PVB film as impact modifier,” European Polymer Journal, vol. 44, no. 3, pp. 755–768, 2008.
J. Chen, J. Xu, X. Yao, B. Liu, X. Xu, Y. Zhang, and Y. Li, “Experimental investigation on the radial and circular crack propagation of PVB laminated glass subject to dynamic out-of-plane loading,” Engineering Fracture Mechanics, vol. 112–113, pp. 26–40, 2013.
Y. Peng, J. Yang, C. Deck, and R. Willinger, “Finite element modeling of crash test behavior for windshield laminated glass,” International Journal of Impact Engineering, vol. 57, pp. 27– 35, 2013.
J. Wang, Y. Xu, and W. Zhang, “Finite element simulation of PMMA aircraft windshield against bird strike by using a rate and temperature dependent nonlinear viscoelastic constitutive model,” Composite Structures, vol. 108, pp. 21– 30, 2014.
Pedestrian Testing Protocol. (2016, January). EURO New Car Assessment Programs. Euro NCAP. Leuven, Belgium [Online]. Available: http://www.euroncap.com/en/for-engineers/ protocols/pedestrian-protection/
S. Lakkam, A. Tempiem, P. Boonyalai, and V. Voranavin, “A feasibility study of a pedestrian crash simulator powered by ironless linear motor,” The Journal of KMUTNB, vol. 27, no. 1, pp. 79–88, 2017 (in Thai).