การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์เพื่อส่งเสริมการใช้งานเครื่องช่วยหายใจ กรณีศึกษา หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม วชิรพยาบาล

Main Article Content

กัลยรัตน์ ก้าหรีมล์ะ
เปรมกมล จันทร์สุภาพ
อารียา จิรธนานุวัฒน์

บทคัดย่อ

เครื่องช่วยหายใจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงที่ทันสมัยและมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในหอผู้ป่วยวิกฤต เครื่องช่วยหายใจมีหลากหลายชนิด เป็นกลไกที่มีความซับซ้อนและต้องได้รับการฝึกอบรม หากมีการนำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยจะสามารถลดปัญหานี้ได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ และเว็บไซต์ เพื่อส่งเสริมการใช้งานเครื่องช่วยหายใจให้กับพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยสร้างเว็บไซต์ผ่านโปรแกรมดรีมวีฟเวอร์ และใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ดำเนินการในชนิดของเครื่องช่วยหายใจที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายได้แก่ HAMILTON-G5, GE, Bennett 840 และ Galileo รวมทั้งประเมินประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ จากกลุ่มพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้งานจริงจำนวน 22 ราย ผลการศึกษาพบว่า หลังการใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ พยาบาลวิชาชีพผู้ใช้งานจริง 22 ราย เห็นด้วยเป็นอย่างมาก โดยมีคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 2.70 และ 0.32 ตามลำดับ โดยแยกเป็นคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่สำคัญ 4 ด้าน ได้แก่ การประมวลผลได้รวดเร็วเท่ากับ 2.77 และ 0.20 การแสดงผลได้ถูกต้อง เท่ากับ 2.82 และ 0.11 การแสดงผลได้แม่นยำเท่ากับ 2.64 และ 0.31 และเนื้อหาเข้าใจง่ายเท่ากับ 2.85 และ 0.39 ตามลำดับ สรุปและเสนอแนะ การจัดทำเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ ครั้งนี้สามารถใช้งานได้จริงและมีประโยชน์กับผู้ใช้งาน ในอนาคตควรเพิ่มรุ่นของเครื่องช่วยหายใจให้มากขึ้น และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ กับเครื่องมือแพทย์ชนิดอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้งานเครื่องมือแพทย์ให้มีความถูกต้อง สะดวก และเข้าถึงง่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์

References

C. Nopesiri. (2020, December 19). QR code and short URL for management (1st ed.). [Online]. Available: https://shorturl.asia/GWkyf

Anon. (2020, September 20). Ventilators, So Very High-tech and yet completely rendered ineffective by infections (1st ed.). [Online]. Available: https://www.medicalbuyer.co.in/

W. Owens, The Ventilator Book, 1st ed. USA: N.P, 2019.

P. Blackett. (2020, September 20). Reduce risk, Save money, and Live happily ever after (1st ed.). [Online]. Available: https://www.slide share.net/ArgentSky/reduce-risk-save-moneyand- live-hasppily-ever-after

L. Chu, C. Lee, and C. Wu, “Applying QR code technology to facilitate hospital medical equipment repair management,” in 2012 International Conference on Control Engineering and Communication Technology, 2012, pp. 856–859.

L. Li, Z. Hu, Z. Yi, G. Ma, C. Xiao, and L. Wan, “Exploration of standardized clinical skills instruction video based on QR code management in clinical hospital teaching,” American Journal of Translational Research, vol. 13, no. 2, pp. 14067–14073, 2021.

C.-H. Lin, F.-Y. Tsai, W.-L. Tsai, H.-W. Wen, and M.-L. Hu, “The feasibility of QR-code prescription in Taiwan,” Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics, vol. 37, no. 6, pp. 643–646, 2012.

P. Wikein, (2020, January 10). Dreamweaver Programs (1st ed.). [Online]. Available: https:// krupiyadanai.wordpress.com/

S. Chanchai, “ADDIE Model,” in Instructional design and development. 1st ed. NakhonPathom: Phetkasem Printing Group, 2014, pp. 11.

L. Kridsanapong, (2020, January 10). Storyboard writing. [Online] (in Thai). Available: https://touchpoint.in.th/storyboard-videoproduction/

Office of the Basic Education Commission, (2020, January 10). Quality inspection tool (1st ed.). [Online] (in Thai). Available: https://bet.obec.go.th /index/wp-content/ uploads/2017/09/PPT6.pptx

P&T Hosting, (2020, January 10). What is Web hosting (1st ed.). [Online] (in Thai). Available: https://www.pathosting.co.th/hosting/whatis

J. Cho, G.-W. Seo, J. S. Lee, H. K. Cho, E. M. Kang, J. Kim, D.-Il Chun, Y. Yi, and S. H Won, “The usefulness of the QR code in orthotic applications after orthopedic surgery,” Healthcare, vol. 9, no. 3, pp. 298, 2021.