การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษากรณีศึกษา เรื่อง โรงเรือนอัจฉริยะ

Main Article Content

อาคิรา สนธิธรรม
ชัยยพล ธงชัยสุรัชต์กูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา กรณีศึกษา เรื่องโรงเรือนอัจฉริยะ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือครู คู่มือผู้เรียน ชุดฝึกปฏิบัติการโรงเรือนอัจฉริยะ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเลือกจากกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาจำนวน 12 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการประยุกต์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ของสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สถิติในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่อง โรงเรือนอัจฉริยะ มีประสิทธิภาพในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.34 และ S.D. = 0.62) สรุปได้ว่าการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา กรณีศึกษา เรื่อง โรงเรือนอัจฉริยะ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การประยุกต์ใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาการเรียนรู้ให้ก้าวหน้า โดยผู้เรียนสามารถนำเทคนิคการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานในการแก้ไขปัญหา ด้วยการคิด วิเคราะห์ได้อย่างเป็นลำดับ สร้างโอกาสการเรียนให้สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

Digital Economy Promotion Agency. (2022, May). Agriculture choice, way of survival. [Online]. Available: https://www.depa.or.th/ th/article-view/agriculture-alternative-way-ofsurvival.

Agricultural Research Development Agency. (2022, May). Farmer a career that has been with Thai people for a long time. [Online]. Available: https://www.arda.or.th/knowledge _detail.php?id=33.

R. A. Mouha, “Internet of Things (IoT),” Journal of Data Analysis and Information Processing, vol. 9, pp. 77–101, 2021.

O. Vishali Priya and R. Sudha, “Impact of Internet of Things (IoT) in Smart Agriculture,” Recent Trends in Intensive Computing, vol. 39, pp. 40–47, 2021.

K. Kamolchart, “Learning management based on STEM education for student teacher,” Journal of Education Naresuan University, vol. 18, no. 4, pp. 334–348, 2016 (in Thai).

C. B. Farrow and E. Wetzel, “An active learning classroom in construction management education: Student perceptions of engagement and learning,” International Journal of Construction Education and Research, vol. 17, no. 4, pp. 299–317, 2021.

S. Arkira, R. Kanokwan, and T. Chaiyapon, “Development and efficiency validation of training course on smart farm based on STEM education: A case study of abalone mushroom,” in proceedings International Conference on Power, Energy and Innovation (ICPEI), Chonburi, Thailand, 2019.

A. Roberts and D. Cantu, “Applying STEM Instructional Strategies to Design and Technology Curriculum,” in proceedings of the Technology Education in the 21st Century. PATT 26 Conference, Stockholm, Sweden, 2012.

R. Nutjaree, W. Pollawat and C. Panida, “The Development of instructional packages to practice english reading comprehension skill by using task-based learning with local learning resources for the eleventh-grade students,” Veridian E-Journal, Silpakorn University, Humanities, Social Sciences, and Arts, vol. 12, no. 5, 2019 (in Thai).

S. Arkira and T. Chaiyapon, “Development and efficiency validation of experimental set for grow organic salad vegetable smart farm based on STEM education,” in proceedings International Conference on Power, Energy and Innovation (ICPEI), Chiang Mai, Thailand 2020.