การศึกษาและทดสอบการนำไปใช้ของเปลือกอาคารแผ่นพับแบบพลิกกลับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอแนวทางในการออกแบบและนำไปใช้แผ่นผนังพับจากสองมิติ (2D) เป็นสามมิติ (3D) ด้วยวัสดุที่มีแผ่นบางและมีรูปแบบการพับในลักษณะแบบพลิกกลับ กระบวนการศึกษาหลักการพับได้รับแรงบันดาลใจจาก โอริกามิ ศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่น เริ่มจากรูปแบบพื้นฐาน คือ การพับแบบภูเขาและพับแบบหุบเขา สู่การพับแบบพลิกกลับไปจนไปถึงการพับที่ซับซ้อนคือการพับแบบพลิกกลับแนวทแยง และเพื่อที่จะทราบศักยภาพของโครงสร้างแผ่นพับแบบพลิกกลับ ทีมผู้วิจัยด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโครงสร้างได้ทดสอบเปรียบเทียบตัวอย่างการพับแต่ละรูปแบบเกี่ยวกับรูปแบบการแอ่นตัวและความสามารถในการรับน้ำหนักด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามมิติ ผลการวิจัยพบว่า ในขนาดพื้นที่ที่เท่ากันรูปแบบการพับแบบพลิกกลับทั้งแบบตรงและแบบทแยงมีความแข็งแรงกว่ารูปแบบการพับแบบลอนลูกฟูกปกติ โดยในท้ายที่สุดได้นำผลวิจัยนี้ไปใช้ต่อยอดกับการออกแบบสถาปัตยกรรม ด้วยวัสดุแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตเรียบแบนสองมิติ ไปสู่การพับขึ้นรูปทรงสามมิติของเปลือกผนังอาคาร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
R. J. Lang, The complete book of Origami: step by step instructions in over 1000 diagrams, Courier Dover Publications, 1988, pp. 1–4.
P. Jackson, Folding techniques for designers from sheet to form, Laurance Publishig Ltd., 2011, pp. 15–18.
P. Engel, Folding the Universe: Origami from Angelfish to Zen, General Publishing Company Ltd., 1989, pp. 7–9.
H. Buri and Y. Weinand, Origami- folded plate structures, Architecture, Infoscience EPFL scientific publications, 2008.
Y. Nishiyama, “Miura folding: applying origami to space exploration,” International Journal of Pure and Applied Mathematics, vol. 79, no. 2, pp. 269–279, 2012.
I. Garibi, Origami tessellations for everyone, Sef Publishig, 2018, pp. 11–12.
M. Stavric and A. Wiltsche, “Quadrilateral patterns for rigid folding structures,” International Journal of Architectural Computing, vol. 12, pp. 61–79, 2014.
Computers and Structures. (2021). ETABS license number #*14FUN456QKUEAEM. New York. USA [Online]. Available: https:// www.csiamerica.com/products/etabs