การศึกษากำลังรับแรงจุดต่อยึดแบบรอยเชื่อมในเหล็กฉากภายใต้แรงดึงด้วยการทดสอบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ข้อกำหนด American Institute of Steel Construction (AISC) แนะนำว่าการออกแบบจุดต่อประเภทรอยเชื่อมของเหล็กฉากเดี่ยวและเหล็กฉากคู่หรือองค์อาคารที่คล้ายกันเพื่อรับแรงดึง ไม่จำเป็นต้องพิจารณาแรงเยื้องศูนย์ อย่างไรก็ตาม การเยื้องศูนย์ในเหล็กฉากอาจจะมีผลกระทบต่อกำลังรับแรงของจุดต่อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดต่อในเหล็กฉากเดี่ยวซึ่งมีพฤติกรรมการดัดแบบ Out of Plane เมื่อรับแรงในแนวแกน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบเนื่องจากการเยื้องศูนย์ที่มีต่อกำลังรับแรงของจุดต่อประเภทรอยเชื่อมในเหล็กฉากภายใต้แรงดึงด้วยการทดสอบ รวมถึงศึกษาผลกระทบที่ความยาวของรอยเชื่อม และการจัดวางรอยเชื่อม มีต่อกำลังของรอยเชื่อม ตัวอย่างทดสอบประกอบด้วยเหล็กฉากเดี่ยวและเหล็กฉากคู่ ซึ่งต่อยึดที่ปลายด้วยรอยเชื่อม โดยจุดศูนย์ถ่วงของรอยเชื่อมจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด (Balanced) และไม่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด (Unbalanced) ตัวอย่างทดสอบทั้งหมดออกแบบให้เกิดการวิบัติที่รอยเชื่อม ผลจากการทดสอบพบว่า จุดต่อที่จุดศูนย์ถ่วงของรอยเชื่อมไม่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด (Unbalanced) และการดัดแบบ Out of Plane มีผลทำให้ประสิทธิภาพของจุดยึดต่อลดลงได้มากถึงร้อยละ 20 ระยะพิกัดที่เพิ่มขึ้นตามขนาดของเหล็กฉาก อาจทำให้กำลังรับแรงของจุดต่อประเภทรอยเชื่อมมีค่าน้อยกว่ากำลังที่คำนวณได้ตามข้อกำหนดของ AISC ถึงร้อยละ 20 นอกจากนี้ ความยาวรอยเชื่อมที่ใช้ในงานวิจัย มีความยาวน้อยกว่า 100 เท่าของความหนารอยเชื่อม ซึ่งเป็นพิกัดที่ AISC แนะนำว่ายังสามารถใช้ความยาวรอยเชื่อมโดยไม่ต้องปรับลดค่าเป็นความยาวประสิทธิผล แต่กำลังรับแรงของรอยเชื่อมที่ได้จากการทดลองกลับมีค่าน้อยกว่ากำลังที่ได้จากการคำนวณถึงร้อยละ 20 ในหลาย ๆ กรณี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
American Institute of Steel Construction (AISC) (2016), Specification for Structural Steel Buildings, American Institute of Steel Construction, Chicago, IL.
W.H. Weiskopf and M.Male, “Stress distribution in Side-welded joints,” Journal of the American Bureau of Welding, vol. 9, pp. 23–48, 1930.
S.C. Hollister and A.S. Gelman, 1932, “Distribution of stresses in welded double Butt-strap joints,” Journal of the American Welding Society, vol. 11, pp. 24–31, 1932.
G.J. Gibson and B.T. Wake, “An investigation of weld connections for angle tension members,” Journal of the American Welding Society, vol. 21, no. 1, pp. 44–49, 1942.
L. J. Butler and G. L. Kulak, “Strength of fillet welds as a function of direction of load,” Welding Journal, Welding Research Supplement, vol. 50, no. 5, pp. 231s–234s, 1971.
A. M. Kanvinde, B. V. Fell, I. R. Gomez, and M. Robert, “Predicting fracture in structural fillet welds using traditional and micromechanical fracture models,” Engineering Structures, vol. 30, pp. 3325–35, 2008.
A. M. Kanvinde, I. R. Gomez, M. Robert, and B. V. Fell, “Strength and ductility of fillet welds with transverse root notch,” Journal of Constructional Steel Research, vol. 65, pp. 948–958, 2009.
P. E. Regan and P. R. Salter, “Tests on Welded-angle tension members,”The Structural Engineering, vol. 62B, no. 2, pp. 25–30, 1984.
Y. Wu and G. L. Kulak, “Shear lag in bolted single and double angle tension members,” Department of Civil Engineering, University of Alberta, Edmonton, Alta. Structural Engineering Report No. 187, 1993.
M. Petretta, “An investigation of the shear lag effect in welded angle tensile connections,” Master of Applied Science Thesis, Department of Civil Engineering, University of Toronto, 1999.
H. T. Zhu, M. C. H. Yam, A. C. C. Lam, and V. P. Iu, “The shear lag effects on welded steel single angle tension members,” Journal of Constructional Steel Research, vol. 65, pp. 1171–86, 2009.
Standard Test Method for Tensile Properties of Plastics, ASTM d638-02a, 2013.
Specification for Carbon Steel Electrodes for Shielded Metal Arc Welding, ASME Section II c sfa-5.1/sfa-5.1m, 2010.
O. Mekpramual, “Investigation of strength of angle welded connection under tension by Full-scale tests,” M.S. thesis, Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology Thonburi, 2014 (in Thai).