แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล ท่าเรือด่วนเจ้าพระยา สถานีท่าน้ำนนทบุรี

Main Article Content

กมลวรรณ แสงธรรมทวี
เบญจวรรณ ปานแม้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง แนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล ท่าเรือด่วนเจ้าพระยา สถานีท่าน้ำนนทบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและกิจกรรมการใช้งานในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการให้เป็นไปตามหลักการออกแบบที่เหมาะสมต่อคนทั้งมวล (Universal Design) 3) เพื่อเป็นแนวทางออกแบบปรับปรุงพื้นที่ท่าเรือด่วนที่ตอบสนองกิจกรรมการใช้งานสำหรับคนทั้งมวล วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ วิธีการสัมภาษณเชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้แก่ 1) คุณชัยพร ภูผารัตน์ 2) คุณณัฐวดี เตมียกุล และ 3) คุณศิริญญา ปัญญะภาโส ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ และการบูรณาการการเรียนการสอน (Research - Based Learning) ในรายวิชาออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม 6 จากการสัมภาษณ์สามารถ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความต้องการในการออกแบบพื้นที่ท่าเรือด่วนเจ้าพระยา ผลการวิจัย เสนอแนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล ที่ควรได้รับการพัฒนาออกเป็น 5 บริเวณพื้นที่ ได้แก่ 1) บริเวณพื้นที่ทางเท้า จากสถานีขนส่งรถประจำทางไปถึงสถานีเรือด่วนเจ้าพระยา เน้นการจัดทางสัญจรเท้า และสัญญาณเสียงข้ามทางม้าลาย 2) บริเวณพื้นที่จอดรถสำหรับผู้พิการที่ใกล้กับอาคารสถานีเรือด่วนเจ้าพระยาให้มากที่สุด 3) ทางเข้าอาคาร เน้นให้ผู้พิการทุกประเภทสามารถเข้าถึงตัวอาคารได้อย่างสะดวก เช่น พื้นผิวต่างสัมผัส ป้ายบอกทาง และราวจับอักษรเบรลล์ 4) ภายในอาคารสถานีเรือด่วนเจ้าพระยา แบ่งออกเป็น 4.1) จุดบริการข้อมูลข่าวสาร จุดจำหน่ายตั๋ว เน้นออกแบบเคาน์เตอร์สำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว โมเดลอักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น 4.2) จุดให้บริการสาธารณะ เน้นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการตามความจำเป็น เช่น ตู้กดเงินด่วน จุดบริการน้ำดื่ม ห้องน้ำ เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น 4.3) พื้นที่พักคอยและพื้นที่จอดวีลแชร์ผู้พิการ 5) ทางลาดลงสู่โป๊ะเรือ ดังนั้นแนวทางการออกแบบทั้ง 5 บริเวณพื้นที่นี้ เพื่อสามารถเปิดโอกาสให้ผู้พิการมีสิทธิเข้าถึงได้ทั่วทุกพื้นที่ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ข้อเสนอแนะด้านนโยบายและข้อบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการความช่วยเหลือในทุกพื้นที่สาธารณะและอาคารสาธารณะควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านสถาปัตยกรรม

References

Office of Transport and Traffic Policy and Planning, “Project to study the development of facilities and increase the efficiency of services in the transportation sector for the disabled and the elderly,” Chulalongkorn University, Bangkok, Nov. 2015 (in Thai).

Universal design guide book, 2rd ed., Department of Empowerment of Persons with Disabilities., Bangkok. 2015, pp.14–39 (in Thai).

Ministry of Interior, “Ministerial regulation prescribing accessible facilities for persons with disabilities and the elderly,” Royal Thai Government Gazette, Bangkok, Thailand, vol. 122, 2005, pp. 4–19.

Ministry of Interior, “Ministerial Regulation prescribing accessible facilities for persons with disabilities and the elderly,” Royal Thai Government Gazette, Bangkok, Thailand, vol. 2, 2021, p. 25.

Ministry of Social Development and Human Security, “Characterize or providing equipment and facilities or services in buildings or other public services to enable people with disabilities to access and use them,” Royal Thai Government Gazette, Bangkok, Thailand, vol. 122, 2012, pp. 2–3.

R. Chutapruttikorn, G. Wattanawerachai, K. Thongonnard, and S. Aimratsamee, “New master plan guideline for bangpakong home for disabilities,” Journal of Ratchasuda College, vol. 14, pp. 63–65, 2011 (in Thai).

T. Bunyasakseri and C. Phaholthep, “The renovation guideline for the physical improvement in respondent to disabled,” Art and Architecture Journal Naresuan University, vol. 2, pp. 51, 2015 (in Thai).

S. Jiravanichkul, S. Pongprasert, and T. Jarutach, “Universal design guidelines for Pontoon Pier: Moo-7 Pier (Kru Tew Pier), Ko Kret Island and Pak Kret Pier, Nonthaburi,” The Journal of Architectural/Planning Research and Studies, vol. 1, no. 17, pp. 173–187, 2020 (in Thai).