การออกแบบและพัฒนาเครื่องตรวจสอบคุณภาพสลักภัณฑ์ประเภทเกลียวในแบบอัตโนมัติ

Main Article Content

ธนัท วีบุตร
ธนสาร อินทรกำธรชัย
ยิ่งยศ เอื้ออุฬาร

บทคัดย่อ

การตรวจสอบชิ้นส่วนที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์มีข้อกำหนดด้านความปลอดภัย โดยจะต้องมีการตรวจสอบแบบทุกชิ้น ในปัจจุบันการตรวจสอบสลักภัณฑ์ประเภทเกลียวในใช้วิธีการตรวจสอบโดยใช้แท่งตรวจสอบเกลียว ร่วมกับพนักงานในการตรวจสอบแบบทุกชิ้น ซึ่งการตรวจสอบด้วยวิธีดังกล่าวมีเวลามาตรฐานอยู่ที่ 19.48 วินาทีต่อชิ้น การตรวจสอบชิ้นงานจำนวนมากส่งผลให้พนักงานเกิดความเมื่อยล้าระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อเกณฑ์การตัดสินใจที่ผิดพลาดระหว่างการตรวจสอบได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการออกแบบและพัฒนาเครื่องตรวจสอบสลักภัณฑ์ประเภทเกลียวในโดยนำวิธีการตรวจสอบแบบการใช้แท่งตรวจสอบเกลียวมาประยุกต์เป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และสามารถควบคุมความแปรปวนที่เกิดจากมนุษย์ในวิธีการตรวจสอบแบบเดิมซึ่งก่อให้เกิดเกณฑ์การตัดสินใจที่ผิดพลาด คือการหมุนชิ้นงานที่เยื้องศูนย์เชิงมุมกำหนดของเกลียว และแรงที่ไม่คงที่ในแต่ละรอบการหมุนตรวจสอบชิ้นงาน ผลลัพธ์จากการออกแบบและพัฒนาเครื่องตรวจสอบมีเวลามาตรฐานอยู่ที่ 5.27 วินาทีต่อชิ้น สามารถสร้างเกณฑ์การตรวจสอบที่คงที่เหมือนกันทุกชิ้นงาน และขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นในวิธีการตรวจสอบแบบดั้งเดิม โดยเครื่องตรวจสอบสลักภัณฑ์ประเภทเกลียวในมีผลการประเมินการวิเคราะห์ระบบการวัด อยู่ในเกณฑ์ที่ผ่านการยอมรับระบบการวัดของกลุ่มปฏิบัติการอุตสาหกรรมยานยนต์

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

S. Sathitbun-anan, “Trends and disruptive direction in mega factors affecting Thailand taking off to the new heights in the industry 4.0,” The Journal of KMUTNB, vol. 29, no. 1, pp. 175–183, 2020 (in Thai).

Keyence. (2021). Automotive/Transportation. [Online]. Available: https://www.keyence.co.th /ss/products/auto_id/handheld-terminals/ exam ple /automobile.jsp

D.-B. Perng, S.-H. Chen, and Y.-S. Chang, “A novel internal thread defect auto-inspection system,” The International Journal of Advanced Manufacturing Technology, vol. 47, no. 5, pp. 731–743, 2010.

C. Lin, “Real-time pitch diameter measurement of internal thread for nut using laser triangulation,” 2017 IEEE International Instrumentation and Measurement Technology Conference (I2MTC), presented at the IEEE International Instrumentation and Measurement Technology Conference (I2MTC), Turin, Italy, 22–25 May 2017.

A. Mathawin, Fine Measurements. Bangkok: Se-Ed Book Center. 2012 (in Thai).

N. Thawesaengskulthai. Quality Engineering and Management Guide to Continual Improvement and Innovation Creation. Bangkok: CUpress, 2019 (in Thai).

J. Milberg and C. Maier, “Contribution to the automation of screwdriving with the aid of industrial robots,” Annals of the CIRP, vol. 34, no. 1, pp. 49–52, 1985.

K. Dabsomsri and C. Photong, “The study of abnormal screwing and torque measurement technique of automatic screw tightening robot using electrical signal analysis,” The Journal of Industrial Technology, vol. 16, no. 1, pp. 62–77, 2020 (in Thai).