เปรียบเทียบการประเมินระยะเวลาของกระบวนการและระยะเวลาของโครงการโดยการประมาณการและการใช้โปรแกรมคอสมอส กรณีติดตั้งระบบผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม

Main Article Content

จิรวัฒน์ ดำริห์อนันต์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้การจำลองสถานการณ์โดยใช้โปรแกรมคอสมอส (COSMOS) กับวิธีประมาณการ ในการประเมินระยะเวลาของกระบวนการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบบผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม พร้อมทั้งเปรียบเทียบระยะเวลาติดตั้งระบบผลิตน้ำใช้ดังกล่าวในภาพรวมของทั้งโครงการด้วย จากการศึกษาพบว่าระยะเวลาการติดตั้งอุปกรณ์ที่ได้จากการจำลองสถานการณ์เท่ากับ 4.3 วัน ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับระยะเวลาการติดตั้งจริงคือ 4 วัน มากกว่าระยะเวลาที่ได้จากการประมาณการซึ่งเท่ากับ 5 วัน นอกจากนั้นเวลาที่ได้จากการจำลองสถานการณ์สามารถนำมาใช้ในการประเมินค่าใช้จ่ายของกระบวนการติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งส่งผลให้การประเมินค่าใช้จ่ายมีค่าลดลง 14 % จากการประมาณการ และมีความใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการติดตั้งจริงมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการจำลองสถานการณ์สำหรับโครงการได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือการจำลองสถานการณ์ทั้งโครงการในขั้นตอนการวางแผน และการจำลองสถานการณ์ทั้งโครงการในช่วงของการติดตั้งจริง ในขณะเดียวกันได้ใช้วิธีสายงานวิกฤต (CPM) หาระยะเวลาทั้งหมดของโครงการอีกทางหนึ่งด้วย เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาดำเนินการของทั้งโครงการที่ได้จากการจำลองสถานการณ์กับระยะเวลาที่ได้จากวิธีสายงานวิกฤต พบว่าผลลัพธ์ด้านระยะเวลาทั้งหมดของโครงการจากการจำลองสถานการณ์มีความสอดคล้องกับระยะเวลาที่ได้จากวิธีสายงานวิกฤตทั้งในขั้นตอนการวางแผนและขั้นตอนการติดตั้งจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

N. Suri and J. Damrianant, “Comparing construction process simulation between the Arena and COSMOS programs,” Engineering Journal of Research and Development, vol. 30, no. 4, pp. 89–104, 2019 (in Thai).

J. Damrianant, “COSMOS: A discrete-event modeling methodology for construction processes,” International Journal of Internet and Enterprise Management (IJIEM) Special Issue on "Product and Process Modeling in Building and Related Industries, vol. 1, no. 2, pp. 128–152, 2003.

A. Sawhney, A. Mund, and T. Chaitavatputtiporn, “Petri net-based scheduling of construction project,” Civil Engineering and Environmental System, vol. 20, no. 4, pp. 255–271, 2003.

S. Kumanan and K. Raja, “Modeling and simulation of projects with Petri Nets,” American Journal of Applied Sciences, vol. 5, no. 12, pp. 1742–1749, 2008.

C. Lin and H. Dai, “Applying Petri Nets on project management,” Universal Journal of Mechanical Engineering, vol. 2, no. 8, pp. 249–255, 2014.

B. Visartsakul and J. Damrianant, “Determining costs and time required for building construction by using 3D structural models, unit costs, productivity rates, and project simulations,” Engineering Journal of Research and Development, vol. 31, no. 4, 2020 (in Thai).

J. Damrianant and T. Panrangsri, “Resource management using COSMOS modeling and simulation system to lessen concrete-placing duration,” Thai Journal of Science and Technology, vol. 7, no. 5, 2018 (in Thai).

R. Sevicheen and J. Damrianant, “An improvement of a precast-concrete-wall installation process of a high-rise building using Petri Nets: A case study,” Research and Development Journal, vol. 21, no. 1, 2010 (in Thai).