การลดเวลาปรับตั้งในกระบวนการผลิตกล่องถาดพับได้ชนิดสี่มุมด้วยเทคนิคการปรับตั้งเครื่องจักรอย่างรวดเร็ว

Main Article Content

พิชญา บุญมา
สุภาวดี ธีรธรรมากร
ศรีสิทธิ์ เจียรบุตร

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันที่สูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ขยายตัวตามขนาดของกลุ่มธุรกิจ ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาปรับตั้งของกระบวนการผลิตกล่องกระดาษถาดพับได้ชนิดสี่มุม ที่มีขั้นตอนการติดตั้ง ปรับแต่ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้บนตัวเครื่องจักร หลายขั้นตอนซึ่งใช้เวลานานกว่าจะสามารถขึ้นรูปกล่องกระดาษเพื่อดำเนินการผลิตที่สมบูรณ์ได้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์กระบวนการทำงานด้วยแผนภูมิการไหลของกระบวนการ และใช้เทคนิคการปรับตั้งเครื่องจักรอย่างรวดเร็วมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง จากการวิจัยพบว่าเครื่องขึ้นรูปกล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษชนิดกล่องถาดพับได้สี่มุม ใช้เวลาปรับตั้งเครื่องจักรเฉลี่ยปัจจุบันที่ 266 นาที โดยมีเป้าหมายของเวลาการปรับตั้งที่ต้องการคือ 240 นาที จากการดำเนินการวิจัยได้ทำการพัฒนากระบวนการทำงาน และทำการเปลี่ยนกิจกรรมการปรับตั้งบนตัวเครื่องจักรมาสู่กิจกรรมการปรับตั้งนอกเครื่องจักร ซึ่งผลลัพธ์หลังจากการปรับปรุงงาน สามารถลดเวลาการปรับตั้งเครื่องลงจาก 266 นาที เหลือเพียง 160 นาที คิดเป็นร้อยละ 40 ของเวลาการปรับตั้งที่ลดลง ซึ่งดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้สามารถลดเวลาในการปรับตั้งและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกระบวนการผลิตได้เป็นที่พอใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

D. Nachaisin. Introduction for Packaging Design. Khon Kaen University, 2015 (in Thai).

SME’s Knowledge Center (2015), Trends and directions of the Thai packaging industry. Bangkok, Thailand. [Online]. Available: http://www. onartgroup.com/Article/0418.pdf

Netpak Group (2015), Common Carton Styles Box Styles for Custom Folding Cartons. Bangkok, Thailand. [Online] (in Thai). Available: https:// www.slideshare.net/NetpakGroup/commoncarton- styles-box-styles-for-custom-foldingcartons.

R. Kanjanapanyakom, Industrial Work Study. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2019 (in Thai)

W. Chantakit, 17 Thinking Tools = 17 Problem Solving Devices. Bangkok: National Productivity Institute, 2006 (in Thai).

P. Luasapsuk and Y. Klonklang, Quick Changeover for Operators: The SMED System. Bangkok: E. I. Square Publishing, 2007 (in Thai).

S. Shingo, A Revolution in Manufacturing: The SMED system. Portland: Productivity Press, 1985.

H. Karsten, Quick Changeover Concepts Applied: Dramatically Reduce Set-Up Time and Increase Production Flexibility with SMED. CRC Press, 2013.

R. McIntosh, G. Owen, S. Culley, and T. Mileham, “Changeover improvement: Reinterpreting Shingo’s “SMED” methodology,” IEEE Transactions on Engineering Management, vol. 54, no. 1, pp. 98–111, 2007.