การลดของเสียและการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตสารออกฤทธิ์ชนิดแคปซูลในสีอุตสาหกรรมของโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

อำพร เจียมสง่า
ไพโรจน์ พิภพเอกสิทธิ์
Suang-i Anunthawichak
อนันต์ ธรรมชาลัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตสารออกฤทธิ์ชนิดแคปซูลในสีอุตสาหกรรมของโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี โดยนำเทคนิคซิกซ์ ซิกม่ามาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ผลการวิจัย พบว่ามีลักษณะการผลิตเป็นแบบแบทช์ (Batch Production) มีของเสียเกิดขึ้นร้อยละ 27.52 หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 4.8 ล้านบาทต่อเดือน โดยของเสียเกิดจากค่าอัตราการปลดปล่อยของสารออกฤทธิ์ซึ่งถูกหุ้มด้วยแคปซูลที่ถูกชะด้วยน้ำหรือเรียกว่า % RTW (Release Rate to Water) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านคุณภาพ และพบว่ากระบวนการผลิตก่อนการปรับปรุงมีค่า DPMO เท่ากับ 45,454.54 เทียบเท่าระดับ 3.35 และค่า Cp เท่ากับ 1.12 จากการวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่ามี 2 ตัวแปรที่ส่งผลต่อค่า % RTW ได้แก่ 1) จำนวนอนุภาคที่ค้างบนตะแกรงร่อนขนาด 100 ไมครอน (% Sieve) และ 2) อุณหภูมิที่ใช้ทำปฏิกิริยา การลดของเสียในกระบวนการผลิตโดยการทดลองเพื่อหาสภาวะการควบคุมที่เหมาะสมพบว่าค่า % Sieve และอุณหภูมิที่ใช้ทำปฏิกิริยาอยู่ที่ 0.01% และ 68.00°Cตามลำดับ จากนั้นนำสภาวะการควบคุมดังกล่าวไปใช้ควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย พบว่าปริมาณของเสียต่อเดือนหลังการปรับปรุงกระบวนการผลิตลดลงจากร้อยละ 27.52 เป็น 3.33 ค่า DPMO ลดลงจาก 45,454.54 เป็น 6,410.25 ส่งผลให้ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากระดับซิกม่า ก่อนการปรับปรุง 3.35 เพิ่มขึ้นเป็น 3.99 และ Cp ก่อนการปรับปรุง 1.12 เพิ่มขึ้นเป็น 1.33 ส่งผลให้มูลค่าความเสียหายลดลงเหลือ 0.6 ล้านบาทต่อเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, (2021, February 2). Laboratory Analysis of Industrial Paint [Online] (in Thai). Available: https://onestop.mhesi.go.th/mstq/ web/lab/paints

T. Leechakphai, “A thick should know before choosing paints,” Polymer Science, vol. 26, pp. 26–29, 2004 (in Thai).

The council for Six Sigma Certification, Six sigma black belt certificate, Harmony Living, LLC, WY, 2018, pp. 9.

The council for Six Sigma Certification, The Six Sigma: A Complete Step-by-step Guide, WY, 2018, pp. 121.

T. Hessing, (2021, February 25). Process Capability & Performance (Pp, Ppk, Cp, Cpk) [Online]. Available: https://sixsigmastudyguide. com/processcapability-pp-ppk-cp-cpk/.

E. Thavorn, “Measurement system analysis for the prevention of inspection errors in engineering laboratory course,” Kasem Bundit Engineering Journal, vol. 7, no. 1, pp. 140–153, 2017 (in Thai).

S. Vongpeang, “The application of six sigma technique for defects reduction in the injection molding process,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2011 (in Thai).

S. Surattanachaikarn and A. Kengpol, “Apply design of experimental for performance liquid organic concentrate filling machine,” in Proceedings of Industrial Engineering, Sripathum University, 2012, pp. 818–821 (in Thai).

K. Toenwanna, “Process parameter design for extra thickness conformal coating on printed circuit boards,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Thammasat University, 2018 (in Thai).

K. Ployphanichcharoen, Measurement System Analysis (MSA), 2nd ed., Bangkok: Bangkok Technology Promotion Association (Thailand- Japan), pp. 140–153, 2010 (in Thai).

S. Chanaboon, “Chapter 6 inferential statistics analysis,” Statistics and Data Analysis in Preliminary Research, Khonkaen: Bureau of Public Health, pp 82–147, 2017 (in Thai).

K. J. Hae, “Multicollinearity and misleading statistical results,” Korean Journal of Anesthesiology, vol. 72, pp. 558–569, 2019.

J. F. Hair, R. E. Anderson, R. L. Tatham and W. C. Black, Multivariate Data Analysis, 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, 1995.

NCSS Statistical Software, “Chapter 241 individuals and moving range charts,” NCSS Statistical Software, NCSS, LLC., pp. 241-1– 241-20, 2020.

K. Ployphanichcharoen. Process Capability Analysis, Bangkok: Technology Promotion Association (Thailand–Japan). pp. 159–197, 2008 (in Thai).

K. Benjaratthapong, “Six sigma application in pivot production process,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering Thammasat University, 2015 (in Thai).