การเทียบรอยปัญหาในองค์กรและปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงแหล่งตลาดใหม่ของอุตสาหกรรมอาหาร SMEs กับอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ในยุคดิจิทัล

Main Article Content

Supatta Pinthapataya
Jutharat Pinthapataya
Parinya Saknavee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการให้ความสำคัญต่อปัญหาในองค์กรและปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงตลาดใหม่ของอุตสาหกรรมอาหาร SMEs 2) วิเคราะห์ระดับการให้ความสำคัญต่อปัญหาในองค์กรและปัจจัยในการเข้าถึงตลาดใหม่ของ SMEs กับองค์กรขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมอาหาร โดยการเทียบรอย (Benchmarking) การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารจากรายชื่อฐานข้อมูลของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารแห่งประเทศไทย จำนวนรวมทั้งสิ้น 128 คน ประกอบด้วยผู้ประกอบการขนาดย่อม จำนวน 61 คิดเป็นร้อยละ 47.3 ขนาดกลางจำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 37.9 และขนาดใหญ่จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 14.8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีวิเคราะห์โดย SPSS for Window สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยเทียบรอยการให้ความสำคัญต่อปัญหาในองค์กรในการเข้าถึงแหล่งตลาดใหม่ของอุตสาหกรรมอาหาร พบว่า องค์กรขนาดกลางของอุตสาหกรรมอาหาร ให้ความสำคัญกับปัญหาในองค์กรด้านการบริหารและด้านการขายอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนองค์กรขนาดย่อมของอุตสาหกรรมอาหาร ให้ความสำคัญกับปัญหาในองค์กรด้านการบริหารอยู่ในระดับมาก ด้านการขาย ด้านความพึงพอใจของลูกค้า และด้านบทบาทของหน่วยงานภาครัฐอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านทรัพยากรมนุษย์และการผลิตอยู่ในระดับน้อยในขณะที่องค์กรขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมอาหาร ให้ความสำคัญกับปัญหาในองค์กรด้านการบริหารอยู่ในระดับมากที่สุดส่วนในด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยเทียบรอยการให้ความสำคัญต่อปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงแหล่งตลาดใหม่ของอุตสาหกรรมอาหาร พบว่า องค์กรขนาดกลางของอุตสาหกรรมอาหาร ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการปรับองค์กรให้ทันกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นปัจจัยด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันที่อยู่ในระดับน้อย องค์กรขนาดย่อมของอุตสาหกรรมอาหาร ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการปรับองค์กรให้ทันกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่อยู่ในระดับกลาง ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ อยู่ในระดับน้อย ในขณะที่องค์กรขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมอาหาร ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการปรับองค์กรให้ทันกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และปัจจัยด้านกำหนดกลุ่มผู้ซื้อเดิม และขยายฐานสู่กลุ่มผู้ซื้อใหม่อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

References

Department of Industrial Promotion. (2019, February). Small and Medium Enterprise. [Online]. Available: https://www.dip.go.th

Thai Association Small and Medium Entrepreneurs. (2019, February). Name Lists. [Online]. Available: https://www tasme.or.th/en/

K. Sektrakul. (2018, October). Roles of Small Business towards Economic Systems. Searching for Business Opportunity. In Knowledge Development for Professional Entrepreneurs Project. [Online]. Available: https://www.goto know.org/posts/476043

V. Varamar, C. Bunchapattanasakda, and O. Sawagevudcharee, “Essential characteristics of successful SMEs entrepreneurs in trade section in Bangkok,” Journal of Humanities and Social Sciences, Rajamangala University of Technology Lanna, vol. 5, no. 2, Jul.–Dec., pp. 124–133, 2017 (in Thai).

W. Makasiranont. Business Development SMEs Manual, Bangkok: Expernet, 2001 (in Thai).

S. Amornsingh, (20019, April). Principle of Marketing: Smart Life/Biz. [Online]. Available: https//www. pdamobiz.com

TMB SME Insights. (2018, November). TMB Insight Hub by Commercial Customer Understanding, and Customer Experience and Image. [Online]. Available: https://www. techsauce.co /tech-and-biz/tmb-sme-insights/

P. Kuntabuth, “Success factors in small and medium enterprise: SMEs national and international,” Academic Seminar 11, Sriprathum University, Bangkok, Nov. 21, 2016.

C. Bamford and D. B. Garry, Entrepreneurship : A Small Business Approach. McGraw-Hill: New York, 2011.

H. T. Keh, Th. T. M. Nguyen, and H. P. Ng, “The effects of entrepreneurial orientation and marketing information on the performance of SMEs,” Journal of Business Venturing, vol. 22, no. 4, pp. 592– 611, 2007.