การศึกษาผลกระทบจากการทำงานของเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบรวดเร็วที่เกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าสำหรับการประกอบธุรกิจในภาคเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอ การศึกษาผลกระทบจากการทำงานของเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบรวดเร็วที่เกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าสำหรับการประกอบธุรกิจในภาคเอกชน เพื่อเป็นแนวทางศึกษาให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชนที่สนใจจะติดตั้งและให้บริการเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบรวดเร็วหลายมาตรฐานเพื่อจำหน่าย และเพื่อให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนได้ทราบถึงผลกระทบทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยทำการวัดค่าปริมาณทางไฟฟ้าต่าง ๆ ของตัวอย่างระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบรวดเร็วหลายมาตรฐานที่มีการใช้งานจริง รวมถึงค่าปริมาณทางไฟฟ้าอื่น ๆ ของเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าด้วย ได้แก่ ค่าแรงดันไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าก่อนเข้าเครื่องอัดประจุแบบ 3 เฟส, ค่ากระแสไฟฟ้าขาเข้าแบบ 3 เฟส, ค่ากำลังไฟฟ้าขาเข้า, ค่า %SOC ของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, ค่าความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้า (THDv), ค่าความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นกระแสไฟฟ้า (THDi), ค่าความถี่ของระบบไฟฟ้า (f) และค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (p.f.) ของเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ผลการศึกษาพบว่า ค่าปริมาณทางไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้า โดยมีค่าแรงดันไฟฟ้าเฉลี่ยระหว่างเฟสของระบบเท่ากับ 395.25 V หรือค่าเฉลี่ยต่อเฟสเท่ากับ 228.20 V ค่าความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 0.16% ค่าความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 0.51% ค่าความถี่ของระบบไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 50.03 Hz และค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าเฉลี่ยของเครื่องอัดประจุเท่ากับ 0.99 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าไม่มีผลกระทบใด ๆ เกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าในขณะที่เครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบรวดเร็วหลายมาตรฐานทำงาน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียง หรือต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่รับไฟฟ้าจากหม้อแปลงไฟฟ้าลูกเดียวกัน ผลที่ได้นี้สามารถเป็นกรณีศึกษาให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีความต้องการในการติดตั้งและให้บริการเครื่องอัดประจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าแบบรวดเร็วหลายมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการส่งเสริมมาตรการการเพิ่มปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
Energy policy and planning office, “Energy efficiency plan; EEP 2015,” Ministry of Energy, Chatuchak, Bangkok, Rep. EEP2015, 2015 (in Thai).
S. Siengchin, T. Boonyasopon, C. Tongprasit, P. Boonyasopon, K. Piboon, T. Roopsing, and S. Wisuttipaet, “Feasibility of electric bus implementation for long-distance public transportation,” The Journal of KMUTNB, vol. 27, no. 4, pp. 855–870, 2017 (in Thai).
EV charging station guide, 1st ed., Energy Regulatory Commission, Pathumwan, Bangkok, 2018 (in Thai).
EV charging station handbook, 1st ed., Energy Regulatory Commission, Pathumwan, Bangkok, 2018. (in Thai).
Energy Mahanakhon Co. Ltd. (2020, August). EA Anywhere Charging Station [Online]. Available: https://www.eaanywhere.com/maps
Metropolitan Electricity Authority. (2020, August). MEA Station [Online]. Available: https://www.google.com/maps/search/MEA +Station/@13.7416546,100.3959281,10.39z/ data=!4m3!2m2!5m1!4e9
Provincial Electricity Authority. (2020, August). PEA Station [Online]. Available: https://www. google.com/maps/search/PEA+Station/@13.6 87246,99.8867003,9z/data=!3m1!4b1
U. Prasanna, A. Singh, and K. Rajashekara, “Novel bidirectional single-phase single-stage isolated AC–DC converter with PFC for charging of electric vehicles,” IEEE Transactions on Transportation Electrification, vol. 3, no. 3, pp. 536–544, 2017.
G. R. C. Mouli, J. Kaptein, P. Bauer, and M. Zeman, “Implementation of dynamic charging and V2G using Chademo and CCS/Combo DC charging standard,” presented at the 2016 IEEE Transportation Electrification Conference and Expo (ITEC), Dearborn, MI, USA, June 27–29, 2016,
Plugs, Socket-outlets, Vehicle Connectors and Vehicle Inlets (Conductive Charging of Electric Vehicles - Part 3: Dimensional Compatibility and Interchangeability Requirements for Dedicated D.C. and Combined A.C./D.C. Pin and Contact-tube Vehicle Couplers), IEC62196-3, 2014.
M. C. Falvo, D. SbordoneI, S. Bayram, and M. Devetsikiotis, “EV charging stations and modes: International standards,” in Proceedings 2014 International Symposium on Power Electronics, Electrical Drives, Automation and Motion (SPEEDAM 2014), 2014, pp. 1134–1139.
Electric Vehicle Charging Stations Technical Installation Guide, 2nd ed., Hydro-Québec, Montreal, Canada, 2015.
Plug-In Electric Vehicle Handbook for Public Charging Station Hosts, 1st ed., The National Renewable Energy Laboratory (NREL), Golden, Colorado, United States, 2012.
Zach. (2015, September). Electric Car Charging 101-ypes of Charging, Charging Networks, APPS, & More!. [Online]. Available: https://evobsession. com/electric-car-charging-101-types-of-chargingapps- more/
Plugs, Socket-outlets, Vehicle Connectors and Vehicle Inlets (Conductive Charging of Electric Vehicles - Part 2: Dimensional Compatibility and Interchangeability Requirements for A.C. Pin and Contact-tube Accessories), IEC62196-2, 2016.
M. Bertoluzzo, G. Buja, and G. Pede, “Design considerations for fast AC battery chargers,” World Electric Vehicle Journal, vol. 6, no. 27, pp. 147–154, 2013.
P. Jumpeethong and S. Khomfoi, “An EV quick charger based on CHAdeMO standard with grid-support function,” in Proceedings 2015 18th International Conference on Electrical Machines and Systems (ICEMS 2015), 2015, pp. 531−536.
PEA Technical Standards, Technical Standards, 2016 (in Thai).
MEA Technical Standards,Technical Standards, 2015 (in Thai).