ผลกระทบในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าแบบด่วนพิเศษต่อการปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการระบบรถไฟฟ้า กรณีศึกษา รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ

Main Article Content

Chanisara Sripasong
Ackchai Sirikijpanichkul

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทดลองการเดินรถไฟฟ้าแบบด่วนพิเศษ (Express Operation) เพื่อแก้ไขปัญหาความจุในการให้บริการที่ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์การเดินทางของผู้โดยสาร ในระบบรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลช่วง หัวลำโพง - บางซื่อ ในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า 7.00 – 8.00 น. และชั่วโมงเร่งด่วนเย็น 18.00 – 19.00 น. ของวันทำงาน จันทร์ถึงศุกร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการมากที่สุด โดยอาศัยจำนวนขบวนรถเท่าเดิมคือ 19 และ 18 ขบวน ในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า และเย็น ตามลำดับ และปรับเปลี่ยนการเดินรถให้เป็นแบบผสม คือจัดการเดินรถ ในรูปแบบ Express Operation ประกอบไปด้วย Local Line และ Express Line ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเช้า ทิศทางมุ่งใต้ เริ่มต้นจากสถานีบางซื่อไปสิ้นสุดที่สถานีหัวลำโพง และในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนเย็น ทิศทางมุ่งเหนือ เริ่มต้นจากสถานีหัวลำโพงไปสิ้นสุดที่สถานีบางซื่อ ผสมกับการจัดการเดินรถในรูปแบบปกติ (Normal Operation) ในส่วนของทิศทางขากลับ ของทั้งชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็น โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในปรับปรุงแผนการเดินรถไฟฟ้า เพื่อเพิ่มระดับการให้บริการของระบบรถไฟฟ้า โดยการลดความแออัดของผู้โดยสาร และลดระยะเวลาในการเดินทางของผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนเช้าและเย็น ผลการทดลองพบว่า การเดินรถไฟฟ้าแบบด่วนพิเศษ (Express Operation) สามารถลดความแออัดของผู้โดยสารลงจากเดิม โดยในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า จากสถานีบางซื่อไปยังสถานีหัวลำโพง ในทิศทางมุ่งใต้ ขบวนรถปกติ (Local Line) และขบวนรถพิเศษ (Express Line) ความหนาแน่นของผู้โดยสารลดลงร้อยละ 23 และ 15 ตามลำดับ และในชั่วโมงเร่งด่วนเย็น จากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีบางซื่อ ในทิศทางมุ่งเหนือ ขบวนรถปกติ (Local Line) ความหนาแน่นของผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 แต่ไม่เกินความจุที่รถไฟฟ้าสามารถรองรับได้ และขบวนรถพิเศษ (Express Line) ความหนาแน่นของผู้โดยสารลดลงร้อยละ 31 นอกจากนี้ การเดินรถไฟฟ้าแบบด่วนพิเศษ (Express Operation) ยังสามารถย่นระยะเวลาในการเดินทางเมื่อเทียบกับการเดินรถในรูปแบบปกติ (Normal Operation) ซึ่งจะช่วยให้ผู้โดยสารสามารถประหยัดเวลาในการเดินทางลงได้ 11 นาที หรือร้อยละ 32 ในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า จากสถานีบางซื่อไปยังสถานีหัวลำโพง ในทิศทางมุ่งใต้ และ 9 นาที หรือร้อยละ 26 ในชั่วโมงเร่งด่วนเย็น จากสถานีหัวลำโพงไปยังสถานีบางซื่อ ในทิศทางมุ่งเหนือ แต่จะส่งผลให้ผู้โดยสารบางกลุ่มจะต้องเสียเวลาในการรอคอยรถไฟฟ้าในบางสถานีนานขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

L. Zhujun, M. Baohua, B. Yun, and C. Yao, “Integrated optimization of train stop planning and scheduling on metro lines with express / local mode,” IEEE Translations and Content Mining are Permitted for Academic Research, vol. 7, pp. 88534–88546, 2019.

D. Sunduck, Y. Keun-Yul, L. Jae-Hoon, A. Byung- Min, and K. Jeong Hyun, “Effects of Korean Train Express (KTX) operation on the national transport system,” in Proceedings of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, 2005, pp. 175–189.

Y. Xueqiao, L. Maoxiang, G. Yang, W. Kai, S. Ching-Hsia, T. Sang-Bing, H. Mingkun, Y. Xiao, and L. Shiqi, “An empirical study on the design of China high-speed rail express train operation plan-from a sustainable transport perspective,” Sustainability, vol. 10, no. 7, pp. 1–19, 2018.

P. Chograthin and A. Sirikijpanichkul, “Delays in railway operations and suggested remedies for Airport Rail Link system,” presented at the 24th National Convention on Civil Engineering, Udonthani, Thailand, July 10–12, 2019 (in Thai).

Bangkok Expressway and Metro. (2018, Jan.). M.R.T Chaloem Ratchamongkhon Line. [Online] (in Thai). Available: http://metro.bemplc.co.th/MRT-System-Line?pid=3&lang=th

V. R. Vuchic, Urban Transit Operations Planning and Economics. Hoboken, NJ, USA: Wiley, 2005.

Mass Rapid Transit Authority of Thailand, “MRTA Report,” Bangkok, Thailand, 2019 (in Thai).