ตัวแบบคณิตศาสตร์สำหรับการออมรายเดือนเพื่อการวางแผนการเงิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างตัวแบบคณิตศาสตร์สำหรับการออมรายเดือน ประกอบด้วยจำนวนเงินออมรายเดือน อัตราดอกเบี้ยต่อปี จำนวนครั้งของการทบต้นต่อปี และจำนวนปีของการออมเงิน และ 2) เพื่อแสดงจำนวนเงินที่คำนวณจากตัวแบบคณิตศาสตร์สำหรับการออมรายเดือน จากผลการวิจัยทำให้ได้ 1) ตัวแบบคณิตศาสตร์สำหรับการออมรายเดือน 4 ตัวแบบ คือ ตัวแบบการออมรายเดือนด้วยจำนวนเงินและอัตราดอกเบี้ยต่อปีแบบคงที่ ตัวแบบการออมรายเดือนด้วยจำนวนเงินแบบคงที่และอัตราดอกเบี้ยต่อปีแบบไม่คงที่ ตัวแบบการออมรายเดือนด้วยจำนวนเงินแบบไม่คงที่และอัตราดอกเบี้ยต่อปีแบบคงที่ ตัวแบบการออมรายเดือนด้วยจำนวนเงินและอัตราดอกเบี้ยต่อปีแบบไม่คงที่ และพิสูจน์ความถูกต้องของตัวแบบด้วยวิธีอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ และ 2) จำนวนเงินเมื่อครบสิ้นปีคำนวณจากตัวแบบคณิตศาสตร์สำหรับการออมรายเดือนโดยการกำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างการจำลองสถานการณ์การออม เพื่อให้ประชาชนผู้ที่ต้องการวางแผนการเงินสำหรับอนาคต สามารถนำจำนวนเงินที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับการออมรูปแบบอื่นๆ ที่จะทำให้ได้รับจำนวนเงินที่เหมาะสมของแต่ละคน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
The Stock Exchange of Thailand. (2015). Financial Planning. [Online]. Available: http:// www.set. or.th/education/th/start/start_start.pdf
P. Meetam, (2009, May). Compound Interest The Most Powerful in The World. [Online]. Available: http:// lib.edu.chula.ac.th/FILEROOM/CU_FORMJOURNAL/ DRAWER001/GENERAL/DATA0012/00012267.PDF
N. Issaranusorn, “Future saving model by using mathematical technique,” in Proceedings of the 2th National and International Research Conference, Thailand, 2015, pp. 426–435 (in Thai).
N. Issaranusorn, “Saving mathematical model with inconstant present value and inconstant compound interest rate,” in Inter-Proceedings of International Congress on Banking, Economics, Finance and Business. Japan, 2016, pp. 241–251.
N. Issaranusorn, “The deterministic mathematical model for midyear of savings with compound interest rate,” The Journal of KMUTNB, vol. 30, no. 2, pp. 304–313, 2020 (in Thai).
C. Pournara, “Teachers’ knowledge for teaching compound interest,” Pythagoras, vol. 34, no. 2, pp. 1–10, 2013.