อุุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและผลกระทบต่อุอุุตสาหกรรมไทย

Main Article Content

Athakorn Kengpol

บทคัดย่อ

กว่าสิบปีมาแล้วที่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ได้มีการนำเสนอแนวคิดในประเทศเยอรมนี จากนั้นอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยได้เริ่มปรับตัวเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการนำหุ่นยนต์ (Robot) เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยในยุคแรกจะใช้แบบเดี่ยว (Stand Alone) ต่อมามีการเชื่อมต่อ (Connected) เข้าด้วยกันเป็นคลัสเตอร์ (Cluster) เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกัน (Synchronized) กับชุดเซนเซอร์ (Sensors) ในกระบวนการผลิต อันจะทำให้ความสามารถในการผลิต (Productivity) สูงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนั้นอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle; EV Industry) ในประเทศไทยได้รับการตอบรับดีมากขึ้นจากผู้ใช้ ดังจะเห็นได้จากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นจากผู้ผลิตยานยนต์ต่างๆ โดยในประเทศไทยยานยนต์ประเภทใช้งานร่วมกันระหว่างระบบเครื่องยนต์เชื้อเพลิงสันดาป (Combustion Engine) และระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ (Battery Driving) ซึ่งมักเรียกโดยรวมว่ายานยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicles; HEVs) และยานยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plugin Hybrid Electric Vehicles; PHEVs) เป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทยอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังเริ่มต้นเปลี่ยนเข้าสู่ยุคการใช้ยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งมักเรียกว่า ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles; EVs) โดยในปี 2020 รัฐบาลไทยได้วางแผนโรดแมพ (Roadmap) ให้มีการผลิตรถยนต์ EVs จำนวน 250,000 คัน รถเมล์ EV จำนวน 3,000 คัน และรถมอเตอร์ไซต์ (Electric Motorcycle) จำนวน 53,000 คัน ภายในปี 2025

Article Details

บท
บรรณาธิการปริทัศน์

References

[1] Thailand Board of Investment (BOI), “Thailand car makers ramp up electric vehicle production capacity in Thailand, investment board says,” Investment Services Center, Bangkok Thailand, Press Release No. 85/2563 (O.33), June, 2020.

[2] C. Edwards, “The EV life-cycle conundrum,” Engineering and Technology Journal, vol. 15, no. 7/8, pp. 26–37, 2020.