การวัดค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งของเมืองเชียงใหม่ กรณีศึกษาผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งของผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่และเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน เพื่อเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันและอนาคต โดยชุดทฤษฎีและเทคนิคสแปซซินแทกซ์ ร่วมกับระบบภูมิสารสนเทศ การสำรวจพื้นที่ และการวิเคราะห์เอกสาร ผลวิจัยพบว่าผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ และเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน มีรูปแบบระบบคมนาคมขนส่งแบบตารางกริดบริเวณศูนย์กลางเมืองและแนวถนนเลี่ยงเมืองร่วมกับถนนวงแหวนเชื่อมศูนย์กลางเมืองกับชุมชนโดยรอบ ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระดับเมืองของผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ คือ 0.214098 ค่าต่ำสุด 0.087010 ค่าสูงสุด 0.323663 ตามลำดับ ถนนที่มีค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงสูง คือ ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) และจุดตัดถนนวงแหวนและถนนรัศมีค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตประเภทพาณิชยกรรมและอยู่อาศัยหนาแน่นมาก อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย ยกเว้นบริเวณจุดตัดถนนวงแหวนและถนนรัศมีทางด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ของเมือง ที่ค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงสูงของแนวถนนตัดผ่านพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม สำหรับค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งระดับเมืองของเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน คือ 0.46700 ค่าต่ำสุด 0.122850 ค่าสูงสุด 0.725260 ตามลำดับ ถนนที่มีค่าประสิทธิภาพการเข้าถึงสูง คือ บริเวณใจกลางเมืองทางหลวงหมายเลข 1 ถนนรัศมีเชื่อมชุมชนโดยรอบ มีค่าประสิทธิภาพการเข้าถึง 0.658449–0.725264 สอดคล้องกับการใช้อาคารและสิ่งก่อสร้างปัจจุบันประเภทพาณิชยกรรมและอยู่อาศัยหนาแน่นมาก อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย อย่างไรก็ดี พบลักษณะร่วมของประสิทธิภาพการเข้าถึงสูงบริเวณจุดตัดแนวถนนวงแหวนและถนนรัศมีโดยรอบเมืองเช่นเดียวกับผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ของแนวถนนที่ตัดผ่านพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองอย่างกระจัดกระจายในพื้นที่ชนบทและเกษตกรรมชานเมือง การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ดังกล่าวอันเป็นผลมาจากประสิทธิภาพการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายคมนาคมขนส่งดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับหาแนวทางกำหนดมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตเพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมชานเมือง
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] B. Hillier and J. Hanson. Social Logic of Space. Cambridge: Cambridge university, 1984.
[3] B. Hillier, Space is the Machine. Cambridge: Cambridge university, 1996.
[4] L. Summaniti, W. Peerapun, and K. Puksukcharean, “Suan Nai Bangkok and Suan Nok Bang Chang: The emergence and transformation of floating markets in the Chao Phraya river delta of Thailand,” Nakhara Journal of Environmental Design and Planning, vol. 8, no. 1, pp.73–83, 2012.
[5] L. Summaniti, “The transformation of spatial centrality consequent upon the transition from water-based to land-based transportation in Suan Nai Bangkok and Suan Nok Bang Chang,” Journal of Remote Sensing and GIS Association of Thailand, vol. 11, no. 3, pp. 31–41, 2010.
[6] L. Summaniti and S. Summaniti. “Change of green areas and transportation network in the context of Chiang Mai comprehensive plan for spatial smart growth,” in Proceeding MJU, 2017, pp. 73–84 (in Thai).
[7] L. Summaniti and S. Summaniti, “Spatial transformation and accessibility efficiency of transportation network with land use in the context of Chiang Mai comprehensive plan,” Journal of Architecture/Planning Research and Studies, vol. 14, no. 2, pp. 105–126, 2017 (in Thai).
[8] Department of Public Works and Town and Country Planning. (2018, Jan.). Chiang Mai comprehensive plan [Online]. Available: https://www.dpt.go.th/en/dpt-services/townplanning-information-service.html
[9] J. Pinelo and A. Turner. (2017 Dec). Introduction to UCL Depthmap [Online]. Available: http://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/kjournal/article/view/1157/1690.
[10] S. Auttarat, “The expiration of comprehensive plans and their impacts on local development in the northern region,” Journal of Architecture/Planning Research and Studies, vol. 11, no. 2, pp. 83–97, 2014.