พฤติกรรมของผู้สูงอายุในการใช้แอปพลิเคชันไลน์บนสมาร์ตโฟน

Main Article Content

Junjiraporn Thongprasit
Thippaya Chintakovid

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัญหาการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์ของผู้สูงอายุ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน ที่มีอายุระหว่าง55–69 ปี อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีประสบการณ์ในการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์บนสมาร์ตโฟนกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการวิจัยโดยการดำเนินกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชันไลน์ จำนวน 12 กิจกรรม ข้อมูลพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ของกลุ่มตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้ถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการสร้างภาพจากข้อมูล ผลจากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์ในการใช้งาน และความถี่การใช้งานต่อสัปดาห์ที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ไม่ต่างกัน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักของการใช้งานเพื่อติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ผู้สูงอายุที่ทำกิจกรรมได้สำเร็จส่วนมากเป็นผู้สูงอายุที่ใช้สมาร์ตโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) กิจกรรมที่ผู้สูงอายุทุกคนสามารถทำได้สำเร็จคือ การส่งสติกเกอร์ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เรียนรู้วิธีการใช้งานแอปพลิเคชันไลน์จากลูกหลาน หากกิจกรรมใดมีขั้นตอนการเข้าถึงที่ยุ่งยากซับซ้อนผู้สูงอายุจะเลือกที่ไม่ทำกิจกรรมนั้น และส่วนใหญ่มักทำเฉพาะกิจกรรมที่ตนเองทำได้และทำเป็นประจำ เช่น การส่งข้อความ การส่งสติกเกอร์ การส่งรูปภาพ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมใดที่ไม่เคยทำผู้สูงอายุจะพยายามหาเมนูที่เกี่ยวข้องแต่ไม่กล้าตัดสินใจเพราะกังวลว่าหากทำผิดจะส่งผลกระทบกับข้อมูลในแอปพลิเคชันไลน์ของตนเอง และกิจกรรมใดที่ผู้สูงอายุไม่สามารถทำได้ ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าไม่ทราบว่าต้องเลือกที่เมนูใด ดังนั้น การออกแบบแอปพลิเคชันเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาแนวทางการออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสาร รวมถึงแอปพลิเคชันอื่นๆ ให้เหมาะสมและตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

References

[1] Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI), Situation of the Thai Elderly 2014. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public Company Limited, 2014 (in Thai).

[2] Electronic Transactions Development Agency (Public Organization), Thailand Internet User Profile 2017, Bangkok: EDTA, 2017 (in Thai).

[3] K. Somwatsan and K. Satararuji, “The study of communication behaviour in Line application data sharing of elderly people,” in National Institute of Development Administration, Faculty of Communication Arts and Management Innovation, Management Communication Innovation. National Academic Conference 2016, Bangkok, 2016 (in Thai).

[4] P. Cheyjunya, “Utilization patterns and factors influencing on the elderly’s communication technology uses,” Journal of Chandrakasemsarn, vol. 22, no. 43, pp. 121–135, 2016 (in Thai). [5] S. Loipha, “The elderly and information technology,” Journal of Information Science, vol. 29, no. 2, pp. 53–64, 2011 (in Thai).

[6] T. Chansiriwat, S. Loipha, and J. Herbst, “Factors influencing website accessibility of the elderly,” Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, vol. 6, no. 2, pp. 166–181, 2016 (in Thai).

[7] V. Kumar, 101 Design Methods : A Structured Approach for Driving Innovation in Your Organization. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc., 2012, pp. 144–145.

[8] N. Suchartpong, B. Taengkliang, K. Saengthong, and M. Inphorm, “The behavior of the elderly in using social media media case study of Chamai subdistrict, Thung Song district, Nakhon Si Thammarat province,” in Walailak University, The 10th Walailak Research National Conference, Nakhon Si Thammarat, 2018 (in Thai).

[9] K. Seuayai and P. Cheyjunya, “Usage of LINE application, satisfaction and capability for Bangkok citizen,” in National Institute of Development Administration, Faculty of Communication Arts and Management Innovation, Management Communication Innovation. National Academic Conference 2016, Bangkok, 2016 (in Thai).

[10] J. Nielsen, “Enhancing the explanatory power of usability heuristics,” in Proceedings of the ACM CHI 94 Human Factors in Computing Systems Conference, Boston, 1994.

[11] W. Chaichuay, “Elderlies’ experience in using LINE application: A phenomenological study,” Veridian E-Journal, Silpakorn University, vol. 10, no. 1, pp. 905–918, 2017 (in Thai).