ผลของการเผาซ้ำต่อสมบัติเชิงกลและลักษณะทางกายภาพของอิฐดินดิบทนไฟที่ใช้ก่อเตาเผาเซรามิกชนิดใช้ฟืนทางเดินลมร้อนลง

Main Article Content

Apirat Theerapapvisetpong
Thanakorn Wasanapiarnpong
Siriphan Nilpairach
Nithiwach Nawaukkaratharnant

บทคัดย่อ

เตาเผาแบบทางเดินลมร้อนลงโดยใช้อิฐดินดิบทนไฟเป็นโครงสร้างของเตาที่นิยมใช้ในการเผาผลิตภัณฑ์เซรามิกพื้นบ้านอย่างแพร่หลาย อิฐดินดิบในโครงสร้างเตาเมื่อได้รับความร้อนครั้งแรกมักเกิดการแตกร้าวเนื่องจากการพรุนตัวของอิฐจากการสลายตัวขององค์ประกอบอินทรีย์และน้ำในโครงสร้างดิน นอกจากนี้ยังเกิดจากการได้รับความร้อนไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดกระบวนการเผาผนึกและการได้รับความร้อนไม่เท่ากันระหว่างเนื้ออิฐด้านในกับด้านนอกเพราะอิฐมีความหนามากเกินไป องค์ความรู้จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางจุลภาคเมื่อได้รับความร้อนจากผิวสู่ภายในเนื้ออิฐ และการเปลี่ยนแปลงความแข็งแรงต่อแรงอัดและลักษณะทางกายภาพของอิฐเมื่อถูกเผาซ้ำในสภาวะใช้งานจริงจะเป็นประโยชน์ต่อพัฒนาอิฐดิบทนไฟเพื่อการยืดอายุเตาเผาต่อไป รวมทั้งสูตรอิฐดิบที่สามารถคงความแข็งแรงแก่โครงสร้างเตาเผาต่อไปในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติเชิงกลและลักษณะทางกายภาพของอิฐดินดิบที่ใช้ก่อเตาสูตรดั้งเดิมที่มีการใช้งานในปัจจุบันเมื่อผ่านการเผาในสภาวะการใช้งานจริง ตัวอย่างอิฐดินดิบเตรียมจากส่วนผสมดินเหนียวแม่ริม ทราย และแกลบ โดยใช้อัตราส่วนเช่นเดียวกับอิฐดินดิบที่ใช้ก่อเตา ทำการเผาอิฐในเตาชนิดใช้ฟืน เผาซ้ำสูงสุด 3 รอบ ในแต่ละรอบนำตัวอย่างอิฐมาทดสอบสมบัติเชิงกลและลักษณะทางกายภาพ พบว่าที่อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ในเตาฟืน เท่ากับ 620°ซ ค่าความแข็งแรงเฉลี่ยของอิฐลดลงร้อยละ 42.47 ในการเผาสองรอบแรก แล้วจึงกลับเพิ่มความแข็งแรงขึ้นในรอบที่ 3 ร้อยละ 27.73 เปรียบเทียบกับการเผาครั้งแรก ซึ่งสัมพันธ์กับการลดลงของแกนดำและเฟสไมโครไคลน์ที่บ่งชี้การเกิดกระบวนการออกซิเดชันและการเกิดเนื้อแก้วของส่วนผสมเนื้อดินเกิดเพิ่มขึ้นจากผิวด้านนอกของอิฐสู่ด้านใน

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] O. B. Gol’tsova, V. S. Klekovkin, O. B. Nagovitsin, and S. V. Antonychev, “Heat losses in a tunnel kiln for brick firing,” Glass and Ceramics, vol. 63, pp. 127–129, 2006.

[2] N. Nawaukkaratharnant, “Development of refractory brick for the dragon kiln,” Metallurgy and Materials Science Research Institute, Chulalongkorn University, Ratchaburi Technical College, 2019 (in Thai).

[3] S. Nilpairach, A. Watchaikun, K. Panyawatcharakom, T. Wasanapiarnpong, and N. Jiraborvornpongsa, “Effect of aluminum hydroxide addition on properties of fired refractory clay brick,” Key Engineering Materials, vol. 766, pp. 300–304, 2018.

[4] L. Sathitpanawong and A. Krajangyao, “Development refractory brick 1,300 degrees celsius from local clay,” Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology), vol. 4, pp. 112–121, 2012.

[5] A. Theerapapvisetpong and S. Nilpairach, “Development of low water absorption terracotta roof tile from local pottery clay and soda lime glass cullet,” The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, vol. 29, no. 2, pp. 314–320, 2019.

[6] D. Njoya, F. S. Tadjuidje, E. J. A. Ndzana, A. Pountouonchi, N. Tessier-Doyen, and G. Lecomte-Nana, “Effect of flux content and heating rate on the microstructure and technological properties of Mayouom (Western-Cameroon) kaolinite clay based ceramics,” Journal of Asian Ceramic Societies, vol. 5, no. 4, pp. 422–426, 2017.

[7] M. Šveda, R. Sokolá , B. Janik, and Z. Štefunková, “Reducing CO2 emissions in the production of porous fired clay bricksks,” Materials Science, vol. 23, no. 2, pp. 139–143, 2017.

[8] E. J. Ibanga and A. D. Ahmed, “Influence of particle size and firing temperature on burnt properties of rice/clay mix,” Pacific Journal of Science and Technology, vol. 8, no. 2, pp. 267–271, 2007.

[9] R. E. Grim, Applied Clay Mineralogy. McGraw-Hill Book, 1962.