การลดสัดส่วนของเสียจากข้อบกพร่องแตกร้าวของสินค้ากระเบื้องซีเมนต์ปูพื้น

Main Article Content

Pongsapak Jaksirinont
Napassavong Osothsilp

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนข้อบกพร่องเฉลี่ยในการผลิตสินค้ากระเบื้องซีเมนต์ความหนา 3.5 ซม. จากข้อบกพร่องแตกร้าว โดยได้นำหลักการของซิกซ์ซิกมา มาใช้ปรับปรุงงานและใช้การออกแบบการทดลองแบบพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลาง เพื่อหาระดับที่เหมาะสมของปัจจัยที่ทำให้จำนวนข้อบกพร่องเฉลี่ยจากการแตกร้าวลดลงเหลือน้อยที่สุดผลลัพธ์ที่ได้คือ ควรปรับปรุงขาเกลี่ยคอนกรีตเป็นแบบเหล็กคานยาว และใช้ความสูงขาเกลี่ยคอนกรีตตัวก้อน 5 มิลลิเมตรความสูงขาเกลี่ยคอนกรีตผิวหน้า 5 มิลลิเมตร และแรงเขย่าในการขึ้นรูปสินค้า 300 กิโลนิวตัน ซึ่งส่งผลให้จำนวนข้อบกพร่องเฉลี่ยลดลงจาก 0.031 ต่อชิ้น เหลือ 0.011 ต่อชิ้น ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 0.012 ต่อชิ้น และสามารถคาดการณ์ได้ว่าต้นทุนของเสียจะลดลงได้ 794,650 บาทต่อปี

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] Pyzdek, The Six Sigma Handbook, 3 rd ed. McGraw-Hill., 2010.

[2] N. Khajornpaisan and N. Rojanarowan, “The effect of oxidized white liquor on pulp brightness in peroxide bleaching in pulp mills,” Advanced Materials Research, vol. 974, pp. 230–234, 2014.

[3] S. Vivitchanont, “Defect reduction in precast concrete production,” M.S. thesis, Department of Industrial engineering, Faculty of engineering, Chulalongkorn University, 2010 (in thai).

[4] D.C. Montgomery, Design and Analysis of Experiments, 9 th ed. New Jersy: John Wiley& Sons, 2012.

[5] P. Wilkes, How to Manufacture Concrete Hollow Blocks. Forgotten Books, 2018.