การพัฒนาครูฝึกช่างอุตสาหกรรมสำหรับคนหูหนวก

Main Article Content

นาตยา แก้วใส
วรพจน์ ศรีวงษ์คล
ปิยะ กรกชจินตนาการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและครูฝึกช่างอุตสาหกรรม สำหรับสอนคนหูหนวกเป็นช่างอุตสาหกรรมโดยคัดเลือกอาชีพช่างที่ตลาดแรงงานต้องการและขาดแคลน คือ ช่างเชื่อมแมก ฟิลเลทเหล็กกล้ามาเป็นช่างต้นแบบในการดำเนินการจากนั้นดำเนินการสร้างหลักสูตร และชุดฝึกอบรม ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเข้ารับการอบรมมีคุณสมบัติคือเป็นครูสอนคนหูหนวก 2 ปีขึ้นไป มีความรู้การสอน และภาษามือไทย จำนวน 4 คน (เป็นคนหูหนวก 2 คน) เข้ารับการฝึกอบรมเป็นครูฝึกช่างเชื่อม เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมให้ผู้เข้าอบรมทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและแบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกอบรมจะได้ครูฝึกที่มีคุณลักษณะ 3 ด้านคือรู้การสอน รู้ช่าง และรู้ภาษามือจากนั้นให้ครูฝึกช่างเชื่อมที่พัฒนาขึ้นทำการฝึกอบรมคนหูหนวกจำนวน 9 คนซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สามารถสื่อสารด้วยภาษามือไทยได้ ให้เป็นช่างเชื่อม เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมแล้ว ให้ผู้เข้าอบรมเป็นช่างเชื่อมทำแบบทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคทฤษฎีภาคปฏิบัติ และทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อครูฝึกในการอบรม หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลผลการวิจัยพบว่า ครูฝึกช่างเชื่อมที่ผ่านการฝึกอบรมจำนวน 4 คน ทำคะแนนทดสอบทฤษฎีได้ร้อยละ 100 จำนวน 2 คน และร้อยละ 93 จำนวน 2 คน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้ และทำคะแนนการทดสอบปฏิบัติได้ร้อยละ 68 79 90 และ 92 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดไว้ผลการประเมินความพึงพอใจในการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก(ค่าเฉลี่ย 4.29) เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของคนหูหนวกที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นช่างเชื่อม จากครูฝึกฯ จำนวน 9 คน ทำคะแนนทดสอบทฤษฎีได้ร้อยละ 67-83 และทำคะแนนปฏิบัติได้ร้อยละ60-84 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดไว้ และผลการประเมินความพึงพอใจต่อครูฝึกในการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.89) เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

คำสำคัญ: คนหูหนวก ครูฝึก ช่างอุตสาหกรรม ชุดฝึกอบรม การพัฒนา ช่างเชื่อม

Abstract
The objective of the study aims to develop a curriculum related to industrial teacher training and training of teachers for deaf and hard-of-hearing technical students. The selected field for this course is “MAG fillet steel welding” because of high demand and lack of high-skill workforce in this field. The defined curriculum and training media kit were then developed. Industrial teachers in the study were required to have minimally 2 years’ experience, with knowledge of teaching methodology and Thai sign language skills. Finally 4 teachers (2 hearing-impaired instructors) were selected to join the developed training program. At the end of the program, the trainees were to take theory and practice achievement tests, as well as to complete the satisfaction evaluation form. Three aspects involving teaching technique, technical theory, and Thai sign language skills were put into practice. The trained teachers would train 9 selected deaf students who finished the secondary level (MathayomSuksa 3) and were capable of deaf communication. In the end, the trainees took achievement tests encompassing theoretical assumptions and instructional practices. They also provided feedback on the satisfaction for their trainers. From the 4 trained welding teachers, 2 were reported to reach 100% on the theory test, while the other 2 made 93%, thus passing the defined criteria of 80%. Likewise, they successfully passed the practice test where the determined criteria was set at 60%. The overall satisfaction was revealed in a high level. In terms of learning achievement of the 9 deaf welding trainees, their attainment of 67-83% in the theory test and 60-84% in the practice assessment can be stated to meet the preset criteria of 60%. Furthermore, their overall satisfaction toward teachers was demonstrated at a relatively high level. 

Keywords: Deaf, Trainer, Industrial Technicians,Training Package, Development, Welder

Article Details

บท
บทความวิจัย