ปัญหาการดำเนินงานของระบบขนส่งมวลชนและแนวทางการแก้ไข
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ระบบขนส่งมวลชนเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับการเจริญเติบโตของสังคมโดยมีลักษณะของกิจการสำหรับการบริการซึ่งไม่แสวงหาผลกำไร ส่งผลให้เกิดความท้าทายในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดคุณภาพในการให้บริการและผลกำไร องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบระบบการเดินรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งประสบกับปัญหาขาดทุนสะสม การศึกษาและวิเคราะห์ระบบการเดินรถโดยสารประจำทางจึงมีความจำเป็นต่อการบรรเทาปัญหาดังกล่าว บทความนี้สรุปปัญหาของระบบขนส่งมวลชนจากทั้ง ขสมก. และองค์กรในต่างประเทศ ทบทวนผลการศึกษาและงานวิจัยด้านการจำลองระบบขนส่งมวลชนหรือระบบจราจรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง รวมถึงนำเสนอแนวทางในการศึกษาและพัฒนาการดำเนินงานของ ขสมก. โดยการศึกษาความสิ้นเปลืองของต้นทุนการดำเนินงานจากการทับซ้อนของเส้นทางการเดินรถ
คำสำคัญ: ระบบขนส่งมวลชน ระบบการเดินรถโดยสารประจำทาง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ การจำลองด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การทับซ้อนของเส้นทางการเดินรถ
Abstract
Public transportation plays a major role in being one of important infrastructures which supports the growth of society. As a service-oriented organization, making profits and providing good services are challenging. Bangkok Mass Transit Authority (BMTA) is a government agency which is mainly responsible for providing bus services in Bangkok and metropolitan areas. It has been struggling with accumulated losses. Proper studies and analyses on the bus system are therefore crucial for understanding and tackling such problem. This article summarizes the problems and suggestions addressed by BMTA and international agencies. Previous studies and researches on simulating public transport or traffic system on computer are reviewed. Moreover, the recommendations for future study on excessive operating costs of the existing overlapping bus routes are suggested.
Keywords: Public Transportation, Bus Transport System, Bangkok Mass Transit Authority (BMTA), Computer Simulation, Overlapping Bus Routes
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น