คุณสมบัติด้านกำลังของดินเหนียวผสมโฟมซีเมนต์

Main Article Content

ชัยรัตน์ ธีระวัฒนสุข
พานิช วุฒิพฤกษ์
สันชัย อินทพิชัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวอ่อน ด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และสารก่อให้เกิดฟองอากาศผสมกับดินเหนียวอ่อน ปริมาณซีเมนต์ผสมต่อปริมาตรดินเปียกที่ 100, 150, 200 และ 250 กก./ลบ.ม. และสัดส่วนฟองอากาศต่อปริมาตรดินเปียก ที่ร้อยละ 0, 10, 30 และ 50 ทดสอบกำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด ที่อายุการบ่ม 7, 14, 28 และ 45 วัน ตามลำดับจากผลการทดสอบ พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณซีเมนต์ผสมต่อปริมาตรดินเปียกให้สูงขึ้น ทำให้หน่วยน้ำหนัก และกำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดของดินเหนียวปรับปรุงคุณภาพมีค่าเพิ่มขึ้นในขณะที่เพิ่มสัดส่วนฟองอากาศต่อปริมาตรของดินเปียกให้สูงขึ้น ทำให้หน่วยน้ำหนัก และกำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัดมีค่าลดลงอย่างไรก็ตามการพัฒนาของกำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด ของดินเหนียวปรับปรุงคุณภาพจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่ปริมาณซีเมนต์ต่อปริมาตรดินเปียก 200 กก./ลบ.ม. ขึ้นไป สรุปได้ว่าในการออกแบบชั้นทางตามมาตรฐานกรมทางหลวง โดยพิจารณาค่ากำลังรับแรงอัดแบบไม่ถูกจำกัด ที่อายุการบ่ม 7 วัน ต้องกำหนดให้สัดส่วนร้อยละของฟองอากาศไม่มากกว่า 19, 27 และ 44 สำหรับการผสมปริมาณซีเมนต์ต่อปริมาตรดินเปียกที่ 150, 200 และ 250 กก./ลบ.ม. ตามลำดับจึงจะสามารถใช้ดินเหนียวอ่อนปรับปรุงคุณภาพนั้นเพื่อเป็นวัสดุวิศวกรรมการทางตามมาตรฐานกรมทางหลวงที่ระบุไว้

คำสำคัญ: ฟองอากาศ โฟมซีเมนต์ วิศวกรรมงานทาง

Abstract
This paper aims to study the strength characteristics of soft clay improved by Portland Cement Type I and air foam. The weight of mixed cement to the volume of wet soil are 100, 150, 200 and 250 kg/m3 respectively, and the percentage ratio of air foam to the volume of wet soil are 0, 10, 30 and 50% respectively. The unconfined compressive strength was tested at the curing periods of 7, 14, 28 and 45 days respectively. The results reveal that as the weight of mixed cement to the volume of wet soil increases, the unit weight and the unconfined compressive strength of the improved clay increases. In contrast, as the percentage of air-foam to the volume of soft soil increases, the unit weight and the unconfined compressive strength decrease. However, the unconfined compressive strength of the improved clay has been raised clearly at the weight of cement to the volume of wet soil of 200 kg/m3. This can be concluded that the unconfined compressive strength at 7-day curing period was considered for pavement design according to the standard of the Department of Highway. Moreover, the percentage of air foam to the volume of wet soil should not exceed 19, 27 and 44% for the weight of mixed cement to the volume of wet soil of 150, 200 and 250 kg/m3, respectively. Thus, the improved soft clay could be used as the highway engineering material corresponding to the specified standard of the Department of Highway in Thailand. 


Keywords: Air-foam, Foam Cement, Highway Engineering

Article Details

บท
บทความวิจัย