การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อศักยภาพการเกิดไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้แบบจำลองการถดถอย

Main Article Content

Punnathorn Thanadolmethaphorn
Chakrit Chotamonsak
Suthinee Dontree

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อศักยภาพในการเกิดไฟป่าในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการวิเคราะห์และสร้างแบบจำลองการถดถอยทั้งแบบเส้นตรงและไม่เป็นเส้นตรง โดยใช้ข้อมูลตรวจวัดสภาพภูมิอากาศและข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ทั้งจากภาพดาวเทียมและจุดความร้อนในช่วงฤดูไฟป่า (ธันวาคม–พฤษภาคม) ในส่วนการวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดพื้นที่ไฟป่าในอนาคตใช้ข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์จากแบบจำลอง WRF-ECHAM5 นำเข้าสมการถดถอยข้างต้น ซึ่งจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่าแบบจำลองการถดถอยแบบไม่เป็นเส้นตรงเป็นวิธีที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมกว่าการวิเคราะห์ด้วยวิธีการถดถอยแบบเส้นตรง โดยปัจจัยที่สามารถนำเข้าสมการถดถอยมีเพียงความชื้นสัมพัทธ์เพียงปัจจัยเดียว ส่วนปัจจัยตัวแปรภูมิอากาศอื่นๆ ไม่สามารถนำเข้าได้เนื่องจากไม่สามารถยอมรับทางสถิติได้ เมื่อนำสมการถดถอยแบบไม่เป็นเส้นตรงที่ได้ทำการวิเคราะห์มาทดสอบกับข้อมูลความชื้นสัมพัทธ์จากแบบจำลองภูมิอากาศภูมิภาค WRFECHAM5 พบว่าความชื้นมีแนวโน้มลดลงในอัตรา 1.3% และมีความแปรปรวนระหว่างปีของความชื้นสูง ซึ่งทำให้เมื่อนำความชื้นจากแบบจำลองเข้าสมการถดถอยแบบไม่เป็นเส้นตรงที่ได้ส่งผลทำให้ศักยภาพในการเกิดไฟป่าในอนาคตมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์พบว่าความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศแบบสุดขีดในอนาคตมีแนวโน้มมากขึ้นโดยมีคาบในการเกิดทุก 5 ปี และส่งผลต่อความแปรปรวนละความรุนแรงของศักยภาพการเกิดไฟป่า นอกจากนี้ยังพบว่าศักยภาพในการเกิดไฟป่าในอนาคตมีช่วงเวลาการเกิดที่เร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นผลมาจากความชื้นในเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์มีแนวโน้มลดลงในขณะที่เดือนอื่นๆ มีแนวโน้มความชื้นเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์

References

[1] S. Dontree, A. Sorrawisut, P. Phichitpunja, P. Pinkhanthayong, and S. Noisuya, “Spatial clustering of burned areas for open field burning surveillance and prevention: Case studies of Chiang Mai, Lamphun and Mae Hong Son Provinces,” Chiang Mai, 2014.

[2] S. Akkaak, Forest Fire Control in Thailand. Bangkok: Wildfire Control Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, 2000.

[3] P. Vivantanadej, M. Trakultivakorn, C. Liwsrisakun, G. Suwarat, and I. Nimit, “A comprehensive report: Project of daily dust level and health effects in asthma patients in Chiang Mai and Lamphun,” Chiang Mai, 2007.

[4] S. Pongpiachan and T. Paowa, “Hospital outand-in-patients as functions of trace gaseous species and other meteorological parameters in Chiang Mai, Thailand,” Aerosol and Air Quality Research, vol. 15, no. 2, pp. 479–493, 2015.

[5] P. Rayanakorn, M. Chantara, S. Wangkarn, S. Tengcharoenkul, U. Kitsawatpaibul, W. Chanta, P. Chaisri, I. Sangbun, and D. Sangchan, Analysis for Air Pollutants in Airbone Particulates in Chiang Mai and Lamphun Province. Bangkok: The Thailand Research Fund, 2007.

[6] U. VhinitKhetKamnuan, T. Cheewonarin, and N. Chunram, “Destruction of dendritic cells from respiratory lung cells with PM 2.5 and PM10 small dust extracts in Chiang Mai and Lamphun provinces.,” Chiang Mai: The Thailand Research Fund, 2007.

[7] S. Pongpiachan, “FTIR spectra of organic functional group compositions in PM2.5 collected at Chiang-Mai City,” Journal of Applied Sciences, vol. 14, no. 22, pp. 2967–2977, 2014.

[8] S. Pongpiachan, “Incremental lifetime cancer risk of PM2.5 bound polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHS) before and after the wildland fire episode,” Aerosol and Air Quality Research, vol. 16, no. 11, pp. 2907–2919, 2016.

[9] A. Sributta and P. Sangjun, “Global climate change and future trend,” The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, vol. 12, no. 1, pp. 59–64, 2002.

[10] C. Chotamonsak, “Climate change simulations for Thailand using regional climate model,” Doctor of Philosophy thesis, Department of Physics and Materials Science, Faculty of Science, Chiang Mai University, 2011 (in Thai).

[11] S. Ketpraneet, Wildfire and Control. Bangkok: Department of Silvery, Faculty of Forestry, Kasetsart University, 1983.

[12] A. E. Hessl, “Pathways for climate change effects on fire: Models, data, and uncertainties,” Progress in Physical Geography: Earth and Environment, vol. 35, no. 3, pp. 393–407, 2011.

[13] S. Matthews, A. L. Sullivan, P. Watson, and R. J. Williams, “Climate change, fuel and fire behaviour in a eucalypt forest,” Global Change Biology, vol. 18, no. 10, pp. 3212–3223, 2012.

[14] L. Luo, Y. Tang, S. Zhong, X. Bian, and W. E. Heilman, “Will future climate favor more erratic wildfires in the Western United States?,” Journal of Applied Meteorology and Climatology, vol. 52, pp. 2410–2417, 2013.

[15] M. Flannigan, B. Stocks, M. Turetsky, and M. Wotton, “Impacts of climate change on fire activity and fire management in the circumboreal forest,” Global Change Biology, vol. 15, no. 3, pp. 549–560, 2009.