ห่วงโซ่อุปทานวัสดุในงานก่อสร้างของจังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

Pichet Sooksaksun
Natinan Prangthong
Natnicha Phlabngeim

บทคัดย่อ

ห่วงโซ่อุปทานของวัสดุในงานก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบชั่วคราวและรูปแบบในการทำงานก่อสร้างที่ไม่มีต้นแบบในการผลิตที่แน่นอน เป็นผลให้กระบวนการโลจิสติกส์ของวัสดุในงานก่อสร้างมีความหลากหลายและมีความเฉพาะตัวการศึกษานี้จึงได้นำเสนอรายละเอียดการดำเนินการในห่วงโซ่อุปทานของวัสดุในงานก่อสร้างในจังหวัดปราจีนบุรี โดยแสดงให้เห็นรายการกิจกรรมและระยะเวลาดำเนินการที่เกิดขึ้นระหว่างผู้รับเหมาก่อสร้างและผู้จำหน่ายวัสดุในกระบวนการซื้อขายวัสดุก่อสร้าง 3 ประเภท โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเภทของวัสดุมีผลโดยตรงต่อระยะเวลาดำเนินการในแต่ละกิจกรรมในกระบวนการซื้อขาย นอกจากนี้ภายหลังการวิเคราะห์ระยะเวลาดำเนินการตามวิธีเส้นสายงานวิกฤติที่ได้พิจารณาถึงลำดับและความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างผู้รับเหมาและผู้จำหน่ายวัสดุพบว่า ระยะเวลาดำเนินการในกระบวนการซื้อขายวัสดุในงานก่อสร้างของแต่ละฝ่ายจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของอีกฝ่าย ดังนั้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทานอาจจำเป็นที่ต้องนำรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่แต่ละหน่วยธุรกิจต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้การศึกษาห่วงโซ่อุปทานหรือการบริหารจัดการเวลาในกระบวนการโลจิสติกส์ควรต้องคำนึงถึงประเภทหรือลักษณะของวัสดุที่จะศึกษาพร้อมกับประสิทธิภาพในการดำเนินการของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] D. Chobjip, “Supply chain analysis for construction material by lean concept using activity-based costing,” M.S. thesis, Department of Engineering and Construction Management, Faculty of Engineering, Chaingmai University, 2009 (in Thai).

[2] R. Vrijhoef and L. Koskela, “The four roles of supply chain management in construction,” European Journal of Purchasing & Supply Management, vol. 6, pp. 169–178, 2000.

[3] Council of Supply Chain Management Professionals. (2017, Aug.). CSCMP Supply Chain Management Definitions and Glossary. Illinois, United States [Online]. Available: http://cscmp.org/CSCMP/Educate/SCM_Definitions_and_Glossary_of_Terms/CSCMP/Educate/SCM_Definitions_and_Glossary_of_Terms.aspx?hkey=60879588-f65f-4ab5-8c4b-6878815ef921

[4] A. Agapiou , L.E. Clausen , R. Flanagan , G. Norman, and D. Notman, “The role of logistics in the materials flow control process,” Construction Management and Economics, vol. 16, no. 2, pp. 131–137, 2006.

[5] T. Twesak, Logistics and Supply Chain Management. Bangkok: Expernet Thailand, 2007 (in Thai).

[6] T. W. Lehtonen, “Performance measurement in construction logistics,” International Journal of Production Economics, vol. 69, no. 7, pp. 107–116, 2001.

[7] G. A. Werikat, “Supply chain management in construction; Revealed,” International Journal of Scientific & Technology Research, vol. 6, no. 3, pp. 106–110, 2017.

[8] T. Sorat, Application of Logistics and Supply Chain. Bangkok: Prachom Thong Printing, Thailand, 2007 (in Thai).

[9] G. Sullivan, S. Barthorpe, and S. Robbins, Managing Construction Logistics, West Sussex, United Kingdom: Wiley-Blackwell, 2010.

[10] P. Pillay and C. Mafini, “Supply chain bottlenecks in the south african construction industry: Qualitative insights,” Journal of Transport and Supply Chain Management, vol. 11, 2017.