การปรับปรุงกำลังดัดของทรายซีเมนต์บดอัดด้วยเส้นใยโพลีโพรพีลีน

Main Article Content

พิทยา แจ่มสว่าง
พานิช วุฒิพฤกษ์
สันชัย อินทพิชัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงกำลังดัดของทรายซีเมนต์บดอัดด้วยเส้นใยโพลีโพรพีลีน ซึ่งเสริมลงในดินมวลเม็ดเพื่อช่วยหยุดยั้งการเคลื่อนที่ของรอยแตกร้าว จำนวนของรอยแตกร้าวแปรผันตามปริมาณของเส้นใยและความสัมพันธ์ระหว่างกำลังดัดสูงสุดกับปริมาณเส้นใยเป็นเส้นตรง โดยค่าความลาดชันแสดงถึงอัตรากำลังดัดสูงสุดที่เพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณซีเมนต์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กำลังดัดสูงสุดมีอัตราเพิ่มสูงยิ่งขึ้น ทั้งนี้อัตราการเพิ่มขึ้นของค่ากำลังดัดสูงสุดขึ้นอยู่กับกำลังของเมทริกซ์เป็นหลักเมื่อปริมาณซีเมนต์เพิ่ม มากขึ้น กำลังดัดคงเหลือหลังจากเกิดการแตกร้าวหรือหลังจากกำลังดัดสูงสุดครั้งแรกมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของกำลังดัดคงเหลือขึ้นอยู่กับกำลังของเมทริกซ์เส้นใยที่เสริมลงในดินทำหน้าที่ดูดซับพลังงานของคานภายใต้น้ำหนักบรรทุก เส้นใยทำงานได้ดีเมื่อปริมาณปูนซีเมนต์เพิ่มสูงขึ้น เพราะกำลังยึดเหนี่ยวระหว่างผิวสัมผัสของเส้นใยกับส่วนจับยึดเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบอีกว่าอัตราส่วนกำลังดัดเทียบเท่าขึ้นอยู่กับปริมาณเส้นใยมากกว่ากำลังของเมทริกซ์ ดังนั้นเมื่อใช้เส้นใยชนิดเดียวกันในปริมาณเท่ากัน อัตราส่วนกำลังดัดเทียบเท่าจึงใกล้เคียงกัน

คำสำคัญ: กำลังดัด ทรายซีเมนต์บดอัด เส้นใยโพลีโพรพีลีน เมทริกซ์

Abstract

This paper presents the improvement of the bending strength of cement-stabilized polypropylene fiber sand. The fiber added can stop the movement of cracks. It was found that the number of cracks varied as the amount of fiber was added. A linear relationship between the maximum bending stress and the amount of fiber was observed, where the slope represented the maximum increment rate of bending. As the input ofcement increased, the maximum bending stressincreased because the increment rate of the maximum bending stress depends largely on the strength of the matrix. Moreover, the residual bending stress rate after cracking or after initial maximum bending stress increased as the amount of cement increased. The test results revealed that the incremental rate of the residual bending stress depends on the matrix strength.Moreover, the fibers added to the soil can absorb the energy of the beam under service load. The results showed that the greater was the cement content, the better was the effectiveness of the fibers added. This was due to the increase in the bond strength between the fiber surfaces and soil matrix. The equivalent bending stress ratio depends on the amount of fibers rather than the matrix strength. Therefore, with the same amount of the same type of fiber, the equivalent bending stress is essentially the same.

Keywords: Bending Stress, Compacted Sand Cement,Polypropylene Fiber, Matrix

Article Details

บท
บทความวิจัย