การปรับปรุงความเรียบผิวกระเบื้องแผ่นเรียบโดยใช้การทดลองสปลิตพล็อตแบบมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

Main Article Content

Kritsakorn Duangklang
Teeradej Wuttipornpun
Watcharapan Sukkerd

บทคัดย่อ

ปัจจุบันพบว่ากระเบื้องแผ่นเรียบที่ผลิตได้จากโรงงานกรณีศึกษามีค่าความเรียบผิวไม่อยู่ในช่วงที่ลูกค้าต้องการ (8 ถึง 10.55 ไมโครเมตร) ซึ่งทำให้โรงงานกรณีศึกษา มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนสินค้าเฉลี่ยประมาณ 100,000 บาทต่อเดือน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่เหมาะสมในกระบวนผลิตกระเบื้อง เพื่อให้ได้ค่าความเรียบผิวอยู่ในช่วงที่ลูกค้ากำหนด จากการศึกษาพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเร็วในการป้อนกระเบื้อง ระยะห่างของลูกรีด แรงกดของลูกรีด และค่าความชื้นสัมพัทธ์ ผู้วิจัยได้ใช้การทดลองแบบสปลิตพล็อตเนื่องจากความเร็วในการป้อนกระเบื้องเปียกนั้นปรับตั้งได้ยากส่วนปัจจัยทางด้านความชื้นสัมพัทธ์จะถูกกำหนดให้เป็นปัจจัยที่ทราบค่าแต่ไม่สามารถควบคุมได้ จากการทดลองพบว่าควรกำหนดความเร็วในการป้อนกระเบื้องที่ 60 เมตรต่อนาที ระยะห่างระหว่างลูกรีด 7.0 มิลลิเมตร แรงกดของลูกรีด 90 บาร์และความชื้นสัมพัทธ์ของกระบวนการที่ 27.98 เปอร์เซ็นต์ โดยจะทำให้ได้ค่าความเรียบผิวของกระเบื้องอยู่ที่ 8.73 ไมโครเมตรผลจากงานวิจัยนี้ทำให้โรงงานสามารถลดต้นทุนในการเปลี่ยนสินค้าที่เกิดจากปัญหาความเรียบผิวลงได้ทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] G. E. P. Box and S. Jones, “Split-plot designs for robust product experimentation,” Journal of Applied Statistics, vol. 19, no.1, pp. 3–26, 1992.

[2] S. M. Kowalsaki and K. J. Potcner, “How to recognize a split-plot experiment” Quality Progress, vol. 36, no. 11, pp. 60–66, 2003.

[3] J. E. King, “Sample size determination for the split-plot factorial design,” in Annual meeting of the Southwest Educational Research Association, Austin, Texas, 2006, pp. 1–6.

[4] B. Jones and C. J. Nachtsheim, “Split-plot designs: What, Why, and How,” Journal of Quality Technology, vol. 41, no. 4, pp. 340–361, 2009.

[5] E. Schoen, B. Jones, and P. Goos, “A split-plot experiment with factor-dependent whole-plot sizes,” Journal of Quality Technology, vol. 43, no. 1, pp. 66–79, 2017.

[6] S. Dumyos, A. Kamnunrat, and V. Jarupoj, “Application of canavalia ensiformis as a green manure in sangyodphatthalung rice variety production,” in Proceedings of the 48th Kasetsart University Annual Conference, 2010, pp. 227–235 (in Thai).

[7] D. C. Montgomery, Design and Analysis of Experiments, 8th ed. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons, 2017.