การใช้ประโยชน์จากแรงงานสูงอายุในภาคการผลิต

Main Article Content

ศจีมาศ ณ วิเชียร
คันธรส แสนวงศ์
สาลินี อาจารีย์
ยุทธการ อาจารีย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลสภาพการจ้างงาน ศักยภาพของแรงงานภาคอุตสาหกรรมการผลิต 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของแรงงานผู้สูงอายุในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และ 3) วิเคราะห์บทบาทของแรงงานผู้สูงอายุในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเมื่อออกจากระบบการจ้างงานเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพเฉพาะพนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าสภาพการจ้างงานเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างพนักงานกับบริษัทที่ไม่มีนโยบายเกษียณอายุงาน เน้นทักษะการทำงานและความพร้อมทางด้านร่างกายของพนักงานเองและผู้บริหารส่วนใหญ่ระบุว่าพนักงานสูงอายุมีศักยภาพในการทำงานด้านความอดทนความตั้งใจและมีความผูกพันต่องานสูง ปัญหาในการทำงานที่พบคือไม่ยอมปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยเท่าที่ควร และใช้เวลาในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ในการทำงานช้ามาก หรือไม่ยอมเรียนรู้เลย ศักยภาพของแรงงานสูงอายุเมื่อออกจากระบบการจ้างที่มีต่อระดับชุมชนอยู่ในขั้นที่ช่วยงานหรือนำประสบการณ์มาพัฒนางานได้ ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จักเป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการเตรียมความพร้อมการรองรับและการจัดการกับแรงงานสูงอายุที่ขาดการวางแผนอนาคตหลังเกษียณตลอดจนจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการใช้ประโยชน์แรงงานสูงอายุที่พบว่าสามารถทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้ถึงอายุ 75 ปีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่อไป

คำสำคัญ: แรงงานสูงอายุ การใช้ประโยชน์ อุตสาหกรรมการผลิต

Abstract

This paper aims to: 1) study employmentconditions and competence of manufacturing laborers 2) study problems and obstacles at work of elderly workers in manufacturing; and 3) analyze roles of elderly workers in manufacturing of while leaving the employment system. This qualitative research specifically investigated employees working infurniture manufacturing. Interview sessions found thatemployment status was in accordance with theagreements between employees and companies that there was no retirement policy. Work skills and physical fitness of employees were emphasized. Most executives stated that elderly workers were patient,determined and highly engaged in their work. Problems found were their incompliance with safety rules; taking much time to learn new technologies, or unwillingness to learn at all. The capacity of elderly workers who were no longer hired involve providing assistance toworkgroup members and applying their experience for work development. Findings of this study shall be primarydata used to manage elderly workers who do not have a retirement plan. In addition, recommendationswill be given on utilization of elderly workers who can work in furniture manufacturing until they turn 75 years old in order to increase the country’scompetitiveness in the future.

Keywords: Elderly Workers, Utilization, ManufacturingIndustry

Article Details

บท
บทความวิจัย