แนวทางการเลือกสารเสถียรภาพ สำหรับการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวิธีการทางเคมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางการเลือกสารเสถียรภาพสำหรับการปรับปรุงคุณภาพดินด้วยวิธีการทางเคมีโดยใช้สารเสถียรภาพทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีในเนื้อมวลดิน ผลจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นทำให้ดินมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปตามที่ต้องการเช่น คุณสมบัติด้านกายภาพ ด้านเคมี และคุณสมบัติด้านวิศวกรรม เนื่องด้วยดินแต่ละชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันทำให้สารเสถียรภาพบางประเภทสามารถใช้ปรับปรุงดินได้ประสิทธิภาพดีกับดินในชนิดหนึ่ง แต่อาจให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างเมื่อใช้กับดิน2556อีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นการเลือกใช้ประเภทของสารเสถียรภาพเช่น ปูนซีเมนต์ ปูนขาว และเถ้าลอย ให้เหมาะสมกับชนิดของดินจึงมีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพของการปรับปรุงดินด้วยวิธีการเสถียรภาพทางเคมี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการก่อสร้างทางวิศวกรรมปฐพี และนักวิจัยหลายท่านได้เสนอแนะแนวทางการพิจารณาเลือกใช้ประเภทของสารเสถียรภาพให้เหมาะสมสำหรับดินแต่ละชนิดโดยใช้คุณสมบัติด้านวิศวกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดเบื้องต้น
คำสำคัญ: การปรับปรุงดิน ดินซีเมนต์ การเสถียรภาพทางเคมี
Abstract
The aim of this paper is to provide preliminaryguidelines for soil improvement by a chemicalstabilization technique which uses stabilizing agent materials for chemical reaction within soil mass. This chemical reactions caused changes in the physical, chemical and engineering properties of the soil. Due to the different properties in each soil, some types ofstabilizing agents can be used to improve soilproperties with high efficiency, but may providedifferent results in other soil. The use of appropriate comstabilizing agents, such as cement, lime and fly ash is very important to soil improvement by chemical stabilization technique. The organizations concern with the geotechnical engineering construction field and many researchers have proposed severalguidelines for considering the appropriate materialtype for each soil by using the engineering propertiescriteria.
Keywords: Soil Improvement, Soil Cement, ChemicalStabilization
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น