การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมของ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล

Main Article Content

พิศาล โพธิ์ทองแสงอรุณ
สันชัย อินทพิชัย
วิจิตรา พลเยี่ยม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล และพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 403 คน ประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล เลือกตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีอิทธิพลพบว่ามีมิติความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วยผู้บริโภค การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน กลยุทธ์ สิ่งแวดล้อม การกำกับดูแลองค์กร การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม จริยธรรม มิติรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย กิจกรรมภายนอกโรงงานและกิจกรรมภายในโรงงาน มิติคุณลักษณะผู้นำ ประกอบด้วย คุณธรรม การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ ทักษะการสื่อสาร บุคลิกภาพผู้นำ มิติพฤติกรรมผู้นำ ประกอบด้วย ผู้นำมุ่งความสัมพันธ์ ผู้นำมุ่งงาน ผู้นำแบบจูงใจ ผู้นำแบบประชาธิปไตย ผู้นำแบบเผด็จการ มิติกระบวนการบริหารจัดการประกอบด้วย2556การเรียนรู้และเจริญเติบโต การเงิน กระบวนการภายในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภาพรวมพบว่าที่ระดับนัยสำคัญ .05 พฤติกรรมผู้นำมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณลักษณะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะผู้นำแต่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้นำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณลักษณะผู้นำ พฤติกรรมผู้นำและความรับผิดชอบต่อสังคม กระบวนการบริหารจัดการไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณลักษณะผู้นำ พฤติกรรมผู้นำ กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม แต่กระบวนการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความรับผิดชอบต่อสังคมการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลรูปแบบจำลองให้กับโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลราชบุรีเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติงาน สามารถนำการพัฒนารูปแบบนี้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงได้ค่าเฉลี่ย 3.73 จากค่าคะแนน 5 ระดับ

คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำ ความรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล

Abstract

This research aimed to investigate followings;factors that influenced on the corporate socialresponsibility of the sugar mill industry group, an analysis of the correlation between the factors that influenced on the corporate social responsibility of the sugar mill industry group, and development ofcorporate social responsibility leadership styles of sugar mill industry group. There were 403 samples consisting of sugar mill managers and employees selecting by simple random sampling method. The research tools of this study were semi-structured interviews and questionnaires. The data analysis ofinfluenced factors showed followings. The dimension of the corporate social responsibility included consumers,respect for human rights and labor practices, strategy, environment, organizational governance, participation in community and social development, and ethics. The dimension of an activity of the corporate social responsibility included outside and inside activities. The dimension of leadership characteristics consisted of moral, adaption to situation, communication skill, and leadership personality. The dimension of leader behavior consisted of relationship-oriented leader,task-oriented leader, persuasive leader, democratic leader, and autocratic leader. The dimension of management process consisted of learning and growth, finance, and internal process. The overall analysis of correlation at a significant level of 0.5 revealedfollowings. The leader behavior had a statisticalsignificance with leadership characteristics. The corporate social responsibility had no significance with leadership characteristics but it had a statistical significance with leadership behavior. The activity of the corporate social responsibility had a statistical significance with leadership characteristics, leader behavior, and corporate social responsibility. The management process had no statistical significance with leadership characteristics, leader behavior, and activity of the corporate social responsibility whereas it had a statistical significance with corporate social responsibility. As for the development of corporate social responsibility leadership styles of sugar mill industry group, the researcher proposed this model to the Ratchaburi Sugar Mill to get recommendations from managers and employees. And it was revealed that this model was applicable at the average score of 3.73 out of 5 rating scale.

Keywords: Development of Leadership Styles,Corporate Social Responsibility, SugarMill Industry Groups

Article Details

บท
บทความวิจัย