การตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอเพื่อระบุชนิดของสัตว์ป่าในงานนิติวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
นิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าเป็นสาขาที่ได้รับความสนใจและมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ลักษณะของงานนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าส่วนมากเป็นการระบุชนิดของสัตว์ (Species Identification) จากชิ้นส่วนวัตถุพยานสัตว์ป่าที่เก็บรวบรวมได้จากสถานที่เกิดเหตุหรือตรวจยึดได้จากผู้ต้องสงสัย เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้กฎหมายหรืออนุสัญญาคุ้มครองสัตว์ป่าทั้งในและระหว่างประเทศ เนื่องจากวัตถุพยานสัตว์ป่าส่วนมากพบในปริมาณน้อย เป็นเศษชิ้นส่วนอวัยวะสัตว์ป่า มีลักษณะเสื่อมสภาพหรือผ่านการแปรรูป จึงไม่สามารถระบุชนิดของสัตว์ป่านั้นๆได้โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยา2556ดังนั้นการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและใช้เป็นเครื่องมือในการสืบสวนสอบสวนเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว บทความนี้จึงรวบรวมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ความสำคัญของงานนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า ตัวอย่างวัตถุพยานสัตว์ป่า วัตถุประสงค์การนำไปใช้และการเก็บรวบรวมวัตถุพยานเหล่านี้เพื่อการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ เครื่องหมายพันธุกรรมที่นิยมในการระบุชนิดสัตว์ป่า หลักการและเทคนิคที่ทันสมัยและนิยมใช้ในการระบุชนิดของสัตว์ป่า รวมถึงทิศทางงานวิจัยในอนาคต ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในสายงานหรืองานวิจัยทางนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่าต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ: ดีเอ็นเอ การระบุชนิด สัตว์ป่า นิติวิทยาศาสตร์
Abstract
Wildlife forensics is a growing field of study.It has been used in forensic investigations worldwide, including Thailand. The main line of work in wildlife forensics is species identification from body partscollected from crime scenes and suspects. Thisinformation aids law enforcement, multinational regulations, and monitoring efforts. Processed body parts and trace samples encountered often limit the use of morphology for species identification;thus DNA-based identification methods play acentral investigative role in such cases. This review summarizes the current literature on wildlife forensics:its significance; commonly encountered sample types; factors leading to hunting and poaching; proper sample collection for DNA analysis; popular DNA markers for species identification; and current widely used techniques for species identification. The purposeof this review is to raise awareness of the currentsituation among practitioners and to serve as a platform for further research projects.
Keywords: DNA, Species Identification, Wildlife,Forensic Science
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น