การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดเก็บวัสดุคงคลังหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงกรณีศึกษาโรงงานผลิตตัดเหล็กม้วน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงโดยการปรับปรุงวิธีการเก็บข้อมูลอะไหล่คงคลัง เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานและค้นหาข้อมูลอะไหล่เครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และลดเวลาในการซ่อมเครื่องจักรแต่ละครั้ง ปัจจุบันพบว่า ปัญหาด้านการควบคุมการเบิกจ่ายอะไหล่ที่พบในโรงงานกรณีศึกษาเกิดจากการบริหารและการจัดการทางด้านข้อมูลอย่างไม่เป็นเชิงระบบสารสนเทศ การบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อนยากต่อการค้นหารวมถึงการสั่งซื้อที่ซ้ำซ้อน การรอคอยอะไหล่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดจากข้อมูลเฉลี่ยในการค้นหาอะไหล่แต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 34 นาที รวมถึงการตรวจสอบอะไหล่สำรองในแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการค้นหา ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาประยุกต์ใช้โดยการออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์แอคเซสในการพัฒนาแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการทดสอบการใช้งานโปรแกรมโดยการเปรียบเทียบกับระบบงานเดิมสรุปได้ว่าระบบฐานข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาขึ้น สามารถลดเวลาในการปฏิบัติงานลงได้ 31.99 นาที เป็น 1.44 นาที หรือเท่ากับ 95.69 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นระบบการจัดการฐานข้อมูลซึ่งเป็นส่วนของการควบคุมอะไหล่คงคลังส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงเพิ่มมากขึ้น
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] C. Onlert, “Reduction of repair and maintenance costs by improving spare parts: a case study of automotive parts manufacturing company,” Special problem, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2011 (in Thai).
[3] C. Buakaew, “Inventory system for maintenance parts: a case study of cement plant,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, 1998 (in Thai).
[4] T. Chusakul, “Development of database management system for engineering management of engineering and maintenance division: A case study of a evaporator production line,” Special Problem, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2011 (in Thai).
[5] S. Boonterm, “Development of maintenance database for history data recording a case in electrical maintenance unit of a power plant,” Special problem, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2012 (in Thai).
[6] E. Thongsri, “Application of management information system for managing spare parts and calculating maintenance operation cost,” Special problem, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2008 (in Thai).
[7] B. R. Adhikari, “Computerized information system for small manufacturing company,” Research paper Master of Science Degree, Technology Management, University of Wisconsin-Stout, 2010.
[8] R. Mathur, “Management information system in clothing industry,” International Referred Research Journal, 2011.
[9] O. A.Syggeridou and M. G.Ioannides, “Induction motors’ faults detection and diagnosis by using Dedicated Software,” Journal of Materials Processing Technology, vol. 181, no. 1–3, pp. 313–317, 2007.
[10] S. Abdulloh and A. Kengpol, “The development of database management program to reduce searching time of the machine: A case study in a stamping press manufacturer,” The Journal of KMUTNB, vol. 26, no. 1, pp. 75–84, 2016 (in Thai).