การพยากรณ์อัตราการไหลสูงสุดในช่วงน้ำหลาก โดยใช้วิธีดัชนีน้ำฝนในลุ่มน้ำเลย

Main Article Content

Anucha Karnjanarak
Wandee Thaisiam

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ได้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีน้ำฝนกับอัตราการไหลของน้ำท่าในพื้นที่ลุ่มน้ำเลย เพื่อนำไปพยากรณ์อัตราการไหลสูงสุด และกราฟน้ำหลากในฤดูน้ำหลากของพื้นที่ลุ่มน้ำเลยพื้นที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำเลยตอนบนของอำเภอเมือง จังหวัดเลย มีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 1,276 ตารางกิโลเมตร ในการศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลน้ำฝนรายชั่วโมงจากสถานีวัดน้ำฝนอัตโนมัติในพื้นที่ศึกษาจำนวน 8 สถานี และข้อมูลอัตราการไหลรายชั่วโมงของสถานีวัดน้ำท่าจำนวน 4 สถานี ในปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2555 ในการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีน้ำฝนกับค่าอัตราการไหลในพื้นที่ศึกษาได้เลือกใช้ข้อมูลของปี พ.ศ. 2552 สมการความสัมพันธ์ที่ได้จากการศึกษามีความแม่นยำในการพยากรณ์อัตราการไหลสูงสุดโดยมีความคลาดเคลื่อนจากค่าอัตราการไหลสูงสุดตรวจวัดอยู่ระหว่างร้อยละ 0.2 ถึงร้อยละ15 เมื่อนำสมการความสัมพันธ์ไปพยากรณ์กราฟน้ำหลากของสถานีวัดน้ำท่าทั้ง 4 สถานี พบว่า กราฟน้ำหลากที่ได้จากสมการความสัมพันธ์มีรูปร่างใกล้เคียงกับกราฟน้ำหลากที่ได้จากการตรวจวัด แต่ช่วงเวลาของการเกิดน้ำหลากสูงสุดเกิดขึ้นเร็วกว่าสภาพจริง สำหรับการพยากรณ์น้ำหลากที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ อำเภอวังสะพุง สามารถใช้สมการ และการพยากรณ์น้ำหลากที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย สามารถใช้สมการความสัมพันธ์ ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] N. Suwanphanang, Y. Keanthong, and J. Ganasut, “Flood management for Hatyai flood mitigation project,” in Proceedings the 7th National Conference on Water Resources Engineering, Chonburi, Thailand, 2017, pp. 122–127.

[2] P. Chaikosol and J. Ganasut, “Flood study in Prachinburi Basin,” in Proceedings the 7th National Conference on Water Resources Engineering, Chonburi, 2017, pp.107–115.

[3] P. Kosa, P. Teekabunya, and T. Sukwimolseree, “Evaluation of flood area in Lam Taklong River Basin with MIKE flood,” in Proceedings the 4th EIT International Conference on Water Resources Engineering, Chonburi, 2017, pp. 251–256.

[4] S. Chuenchooklin and S. Taweepongs, “Application of integrated flood analysis system model for small watershed,” in Proceedings the 6th National Conference on Water Resources Engineering, Udon Thani, 2015, pp. 97–108.

[5] S. Janthipa and W. Thaisiam, “The study of flood mitigation for Klong Chumphon Basin,” presented at The 5th National Conference on Water Resources Engineering, Chiang Rai, 2013.

[6] P. Kosa, T. Sukwimolseree, and P. Seangthong, “The estimation of runoff and sedimentation loaded to The Lam Phra Phloeng reservoir using SWAT,” in Proceedings the 6th National Conference on Water Resources Engineering, Udon Thani, 2015, pp. 194–203.

[7] P. P. Mapiam and N. Sriwongsitanon, “Estimation of the URBS model parameters for floodestimation of ungauged catchments in the upper Pingriver basin, Thailand,” ScienceAsia, vol. 35, pp. 49–56, 2009.

[8] S. Chuaynak and W. Thaisiam, “An Antecedent Precipitation Index study for flood warning of Hatyai City Municipality,” in Proceedings the 18th National Conference on Civil Engineering, Chiang Mai, 2013, pp. 194–203.

[9] M. A. Fedora and R. L. Beschta, “Strom runoff simulation using an Antecedent Precipitation Index (API) model,” Journal of Hydrology, vol. 112, pp. 121–133, 1989.

[10] R. L. Beschta, “Peakflow estimation using an Antecedent Precipitation Index (API) model in tropical environments,” IAHS Publication, no. 190, pp. 128–137, 1990.