การคาดการณ์อุณหภูมิพื้นผิวระดับท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้ข้อมูลภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

Main Article Content

Nachawit Tikul

บทคัดย่อ

จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมีงานวิจัยมากมายที่พยายามคาดการณ์อุณหภูมิอากาศในอนาคต แต่ยังคงเป็นการคาดการณ์อุณหภูมิเฉลี่ยสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ระดับประเทศหรือระดับภูมิภาค ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอุณหภูมิระดับท้องถิ่นอาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าอุณหภูมิที่ได้จากการคาดการณ์อุณหภูมิเฉลี่ยระดับประเทศหรือระดับภูมิภาค จึงเกิดคำถามว่าหากต้องการทราบข้อมูลอุณหภูมิในอนาคตในพื้นที่ขนาดเล็กระดับท้องถิ่นจะสามารถทำได้อย่างไร งานวิจัยนี้จึงประยุกต์ใช้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทยที่ใช้แบบจำลองภูมิอากาศโลก ECHAM4 ที่มีอยู่ร่วมกับวิธีการสำรวจระยะไกล เพื่อให้ได้ข้อมูลอุณหภูมิในอนาคตระดับท้องถิ่น โดยใช้พื้นที่ศึกษาจำนวน 3 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสันทราย และอำเภอดอยสะเก็ด เป็นพื้นที่ศึกษานำร่องสำหรับงานวิจัยนี้ก่อน ผลจากการศึกษาทำให้ได้ข้อมูลอุณหภูมิระดับท้องถิ่นสูงสุดในแต่ละปีระหว่างปี พ.ศ. 2560–2592 ที่มีขนาดขนาดจุดกริด 30×30 เมตร จำนวน 3 ชุดข้อมูล ได้แก่ ชุดข้อมูลอุณหภูมิระดับท้องถิ่นจากภาพฉาย ECHAM4 A2, ECHAM4 B2 และ ECHAM5 A1B ซึ่งมีเงื่อนไขและที่มาในการสร้างภาพฉายที่แตกต่างกัน และพบว่าข้อมูลในระดับท้องถิ่นในแต่ละปีมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากเฉลี่ยประมาณ 20°C ทำให้เห็นได้ว่าการพิจารณาข้อมูลอากาศระดับท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการวางแผนในด้านต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงเช่น การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่อาจใช้ข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่ทั้งจังหวัดได้ นอกจากนี้ยังพบว่าในอนาคตอุณหภูมิระดับท้องถิ่นของทั้ง 3 อำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงขึ้น และพบว่าแนวโน้มอุณหภูมิท้องถิ่นในอนาคตที่ได้จากภาพฉาย ECHAM5 A1B มีแนวโน้มจะมีอุณหภูมิสูงสุดสูงกว่าชุดข้อมูลอุณหภูมิที่ได้จากจากภาพฉาย ECHAM4 A2 และ ECHAM4 B2 ดังนั้นตัวแปรที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการเลือกใช้ภาพฉายอนาคตที่มีเงื่อนไขที่สอดคล้องกับพื้นที่เพื่อให้สามารถหาแนวทางป้องกันที่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] IPCC. (2015, March). Fifth assessment report: Climate change 2013: Synthesis report. Contact information for the IPCC Secretariat, Geneva 2, Switzerland [Online]. Available: http://www.ipcc.ch/report/ar5/wg1/

[2] S. Shinawanno, “Projection of future climate change, the effects of regional climate models–PRECIS,” Center of Excellence for Climate Change Knowledge Management: CCKM, Bangkok, 2010 (in Thai).

[3] K. Boonsom, “Modeling of climate change in thailand by briefing on global climate modeling,” Research Fund, 2010 (in Thai).

[4] E. Green, P. Mumby, A. Edwards, and C. Clark, “Review of remote sensing for the assessment and management of tropical coastal resources,” Coastal Management, vol. 24, pp. 1–40, 1996.

[5] GISDA, “Remote Sensing,” Institute for Aerospace Knowledge, Bangkok, 2006 (in Thai).

[6] J. Jensen, “Digital change detection. Introductory digital image processing, a remote sensing perspective,” New York: Pearson Prentice Hall, 2005, pp. 467–494.

[7] U.S. Geological Survey. (2016, July). Using the USGS Landsat 8 product. U.S. Department of the Interior, USA [Online]. Available: http://www.usgs.gov.

[8] D. Artis and W. Carnahan, “Survey of emissivity variability in thermography of urban areas,” Remote Sensing Environ, vol. 13, pp. 313–329, 1892.

[9] B. Snyder, J. Stribling, and M. Barbour, “Codorus creek biological assessment in the vicinity of the P.H. glatfelter company spring grove,” P.H. Glatfelter Company, Pennsylvania, 1998.

[10] A. Dimoudi and M. Nikolopoulou, “Vegetation in the urban environment: Microclimate analysis and benefits,” Energy and Buildings, vol. 35, pp. 69–76, 2003.

[11] I. Saito, O. Ishihara, and T. Katayama, “Study of the effect of green areas on the thermal environment in an urban area,” Energy and Buildings, vol. 15, pp. 493-498, 1991.

[12] P. Xu, Y. Huang, N. Miller, N. Schlegel, and P. Shen, “Impacts of climate change on building heating and cooling energy patterns in California,” Energy, vol. 44, pp. 792–804, 2012.

[13] M. Tewari, H. Kusaka, F. Chen, W. Coirier, S. Kim, and A. Wyszogrodzki, “Impact of coupling a microscale computational fluid dynamics model with a mesoscale model on urban scale contaminant transport and dispersion,” Atmos Res, vol. 96, pp. 656–664, 2010.

[14] N. Geetha and R. Velraj, “Passive cooling methods for energy efficient buildings with and without thermal energy storage-A review,” Energy Education Science and Technology Part A: Energy Science and Research, vol. 24, pp. 913–946, 2012.

[15] Intergraph Corporation, ERDAS Field Guide, Atlanta, GA, 2013.