การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิด ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่า: กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปอาหารทะเลแห่งหนึ่ง

Main Article Content

องุ่น สังขพงศ์
กลางเดือน โพชนา
วรพล เอื้อสุจริตวงศ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาจากกระบวนการผลิตปลาทูน่าเพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงานโดยมีขั้นตอนงานวิจัยประกอบด้วย 1) การสำรวจอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงานของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่าด้วยแบบสำรวจสุขภาพเบื้องต้น 2) การวัดขนาดสัดส่วนร่างกายของแรงงาน 3) การประเมินผลกระทบทางกายภาพต่อร่างกายในสภาพการปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุงเพื่อเปรียบเทียบผลทางสถิติด้วยคะแนนท่าทางการทำงานด้วย RULA แรงกดและแรงเฉือนต่อหมอนรองกระดูก L5/S1 และค่าสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้วย EMG ผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยได้แสดงผลสำรวจสุขภาพแรงงานซึ่งพบว่าแรงงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาเกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 92 โดยตำแหน่งบนร่างกายซึ่งเกิดอาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อมากที่สุดเรียงตามลำดับได้แก่ ตำแหน่งหัวไหล่ซ้ายและขวาตำแหน่งสะโพก ตำแหน่งหลังส่วนล่างและตำแหน่งขาส่วนล่างซ้ายและขวาหลังจากนำเสนอแนวทางปรับปรุงสภาพการ ปฏิบัติงานในขั้นตอนขูดแยกเลือดปลาเป็นการปฏิบัติงานแบบงานนั่งด้วยการสร้างเก้าอี้และชั้นวางถาด พร้อมกับประเมินผลกระทบทางกายภาพต่อร่างกายของแรงงานในสภาพการปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุง ซึ่งพบว่าคะแนนการประเมิน ท่าทางการทำงานด้วย RULA มีคะแนนเฉลี่ยลดลงผลการวิเคราะห์แรงกดและแรงเฉือนตรงบริเวณหมอนรองกระดูก L5/S1 นั้นมีค่าของแรงกดและแรงเฉือนลดลงสุดท้ายคือ ผลการประเมิน ค่าสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้วยค่าความถี่เฉลี่ยของกล้ามเนื้อ Erector Spinae กล้ามเนื้อTrapezius และกล้ามเนื้อ Anterior Deltoid นั้นพบว่าค่าความถี่เฉลี่ยของกลุ่มกล้ามเนื้อทั้งหมดในสภาพการปฏิบัติงานหลังปรับปรุงมีค่าน้อยกว่า สภาพการปฏิบัติงานก่อนปรับปรุงและเมื่อประเมินผลอัตราผลิตภาพ พบว่าอัตราผลิตภาพในสภาพการปฏิบัติงานหลังปรับปรุงเพิ่มขึ้น 1.17 กิโลกรัมต่อคน-วัน โดยมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 6 เดือนจากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การปรับปรุงสภาพการปฏิบัติงานแบบงานนั่งด้วยการสร้างเก้าอี้และชั้นวางถาด สามารถลดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของแรงงานอีกทั้งเพิ่มผลผลิตด้วย

คำสำคัญ: อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล EMGความเมื่อยล้าจากการทำงาน สถานีทำงานชีวกลศาสตร์

Abstract

The objective of this research was to find andimprove work-related factors of production workersin tuna manufacturing process for reducing risk ofmuscular fatigue. The steps for this research weredivided into 3 steps. The first step was preparationstep which surveyed data on personal details andmuscular fatigue problems among productionworkers were collected by using questionnaire.The second step was anthropometric measure ofproduction workers in tuna manufacturing process forimproving tools or workstation. The final step wasevaluation of working postures and muscular fatigueproblems by using RULA, biomechanics and EMGin existent and improved conditions. The result ofprimary questionnaires showed that muscular fatiguewas prevalent at 92 percent of all workers in trimmingdepartment. The body regions, which were seriously occupied by muscular fatigue, were shoulder, lowback, both legs, both feet, respectively. Redesign ofworkstation was performed and provided for moresuitable to the physical body of workers. The resultof this research revealed that average RULA scoresat improved workstation and average compressiveand shear force on intervertebral disc L5/S1 atimproved workstation were decreased. In addition,the mean frequencies of erector spinae muscle,trapezius muscle and anterior deltoid muscle ofworkers were less than those on existent condition.Finally, it was found that the proposed workstationcould increase the productivity by 1.17 kilogram perman-hour with the payback period of investment wasabout six months.

Keywords: Seafood processing, Electromyography,Postural fatigue, Workstation, Biomechanics

Article Details

บท
บทความวิจัย