การวิเคราะห์สมรรถนะทางความร้อนของผนังบล็อกแก้วสองชั้นโฟโตโวลตาอิก ร่วมกับพัดลมกระแสตรงภายใต้สภาวะอากาศแบบร้อนชื้น

Main Article Content

ปรีดา จันทวงษ์
จงจิตร์ หิรัญลาภ
พิชัย นามประกาย
โจเซฟ เคดารี
บุญชอบ โสตประวัติ
ชาติชาย ชุมจันทร์
เนรมิตร กระแสร์ลม
พิสุทธิ์ แท่นทอง
วิรัตน์ นุชนาง
ฉัตรชัย ฉายแสง
หัสฐชัย จุลภักดิ์
พงศกร ศิลปาจาริย์
ปัณณธร ธนพรโสภณ
ชนนิกานต์ แก้วจังหวัด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในห้องของบ้านจำลองที่ใช้ผนังบล็อกแก้วสองชั้นโฟโตโวลตาอิกร่วมกับพัดลมกระแสตรง (GD-PV) กับผนังบล็อกแก้ว (GW) และผนังคอนกรีตทั่วไป (SW) มีขนาดความหนา 0.10 ม.ผนังบล็อกแก้ว GD-PV มีขนาดพื้นที่ประมาณ 0.9 ตร.ม. มีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วยผนังชั้นนอกเป็นบล็อกแก้วร่วมกับแผงโซล่าร์เซลล์ขนาด 50 วัตต์ มีความหนาประมาณ 0.8 ม. ผนังชั้นในเป็นกระจกใสมีความหนา0.006 ม. มีขนาดช่องว่างอากาศ 0.8 ม. ช่องเปิดด้านล่างอยู่ภายในบ้านมีขนาดพื้นที่ประมาณ 0.24 × 0.12 ตร.ม.เพื่อระบายอากาศจากภายในเข้าสู่ช่องว่างอากาศ และด้านบนมีช่องเปิดขนาดพื้นที่ประมาณ 0.24 × 0.12 ตร.ม. ที่ติดตั้งพัดลมไฟฟ้ากระแสตรงมีขนาด 2 × 0.76 วัตต์เพื่อระบายอากาศสู่สิ่งแวดล้อมโดยผนังทดสอบทั้งสามแบบติดตั้งอยู่บนผนังทางด้านทิศใต้ของบ้านจำลองขนาดเล็กที่มีปริมาตรเท่ากับ 4.05 ลบ.ม. สร้างด้วยผนังคอนกรีตมวลเบาทั่วไปมีความหนา 0.10 ม. ผลการทดลองพบว่าบ้านที่ติดตั้งผนังบล็อกแก้วสองชั้น GD-PV จะมีอุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่า บ้านที่ติดตั้งผนังบล็อกแก้ว GW และผนัง SW คอนกรีต ทั่วไปประมาณ 1-3°C และช่วยลดอัตราการถ่ายเทความร้อนผ่านผนังทางด้านทิศใต้ร้อยละ 71.43 - 86.67 และการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลเวียนของผนังบล็อกแก้วสองชั้น GD-PV ขึ้นกับความเข้มแสงของอาทิตย์ ผนังบล็อกแก้วสองชั้น GD-PV ช่วยประหยัดพลังงาน

คำสำคัญ: ผนังบล็อกแก้วสองชั้นระบายอากาศค่าความสว่างธรรมชาติ การระบายอากาศแบบธรรมชาติ การอนุรักษ์พลังงาน สภาวะอากาศแบบร้อนชื้น

Abstract

This paper aims to conduct a comparative studyconcerning heat transfer to the air in a house model havingglass block double-facade integrated photovoltaicpanels assisted with a DC fan (GD-PV), a glass blockconcrete wall (GW), and a simple concrete wall (SW).The wall thickness was approximately 0.10 m. the areaof the GD-PV was 0.9 m2, The GD-PV external wallwas a glass block double and solar cell panel (50 W).The thickness was approximately 0.8 m. The internalwall was a clear glass wall 0.06 m thick. The GD-PVgap was 0.8 m. The opening was located at the bottom(room side), with two DC electrical fans (5.76W)installed 0.24 ∙ 0.12 m2 to increasing ventilation. Onthe top of the glass block, a 0.24 ∙ 0.12 m2 opening was installed to exhaust hot air. The three wall models wereinstalled on the southern facade of a small house ofwith a volume of 4.05 m3 made from 0.10 m autoclavedaerated concrete. The findings from the experimentsrevealed that the indoor temperature of the GD-PVroom was about 1-3°C lower than that of the GWand SW. The heat gain admitted through the southwall was 71.43-86.67% lower. The GD-PV inducedventilation rate varied according to the intensity ofthe solar radiation. The GD-PV is expected to savecooling energy.

Keywords: Glass Block Double-facade, Daylight,Natural Ventilation, Energy Conservation,Tropical Climate

Article Details

บท
บทความวิจัย