การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุมแบบชิวร์วาร์ทและแผนภูมิควบคุมผลรวมสะสมแบบแทบบูลาร์: กรณีศึกษาการเฝ้าระวังเส้นผ่านศูนย์กลางของแท่งชิ้นงาน

Main Article Content

ดุษฎี บุญธรรม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุม เพื่อใช้ในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตแท่งชิ้นงานในกรณีที่ข้อมูลเกิดค่าเฉลี่ยเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยแผนภูมิที่ผู้วิจัยศึกษามี 2 แผนภูมิ คือ แผนภูมิควบคุมชิววาร์ท(Shewhart Control Chart) และแผนภูมิควบคุมผลรวมสะสมแบบแทบบูลาร์ (Tabular Cumulative SumControl Chart) ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุมจะพิจารณาจากค่าความยาววิ่งโดยเฉลี่ย(Average Run Length: ARL) ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ที่ผู้วิจัยใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากการเก็บข้อมูลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแท่งชิ้นงานในอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง โดยการสุ่มวัดแท่งชิ้นงาน 4 แท่งทุกๆ 1 ชั่วโมง มีการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยที่ 1.67 มม. พบว่าแผนภูมิควบคุมผลรวมสะสมแบบแทบบูลาร์เป็นแผนภูมิที่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตแท่งชิ้นงานได้ดีกว่าแผนภูมิควบคุมชิววาร์ท เนื่องจากในการหาประสิทธิภาพของแผนภูมิควบคุมโดยการคำนวณความยาววิ่งเฉลี่ยและการนำแผนภูมิควบคุมไปใช้ในกระบวนการผลิตได้ผลเหมือนกันคือ แผนภูมิควบคุมผลรวมสะสมแบบแทบบูลาร์จะมีประสิทธิภาพมากกว่าแผนภูมิควบคุมชิววาร์ท เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ย (Shift) น้อย และแผนภูมิควบคุมแบบชิววาร์ทจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแผนภูมิควบคุมผลรวมสะสมแบบแทบบูลาร์ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ย (Shift) มาก

คำสำคัญ: ความยาววิ่งโดยเฉลี่ย แผนภูมิควบคุมชิววาร์ทแผนภูมิควบคุมผลรวมสะสมแบบแทบบูลาร์

Abstract

The objective of this study was to find theefficiency of control charts in the monitoring of therod production process. The control chart methodsin the study were: 1) the Shewhart Control Chart and2) the Tabular Cumulative Sum Control Chart. Theefficiencies of the control chart were determined bycomparing their average run lengths (ARL). The datafor the experiment were collected from the Rod SliceIndustry, by sampling 4 rods per hour. The results ofthe study revealed a relatively small mean of 1.67,which can be described as follows. The TabularCumulative Sum Control Chart was more efficient than the Shewhart Control Chart when used to detectthe difference in the rod production process. The resultcomparison of the control chart between the averagerun length (ARL) calculation and the actual productionexperiment indicated the same efficiency. The TabularChart exhibited a higher efficiency than the ShewhartChart in the low differential shift. On the other hand,the Tabular Chart revealed lower efficiency than theShewhart Chart in the high differential shift.

Keywords: Average Run Length, Shewhart ControlChart, Tabular Cumulative Sum ControlChart

Article Details

บท
บทความวิจัย