การวางซ้อนโดยนัยยะภายในโดเมนเฉพาะกิจ: แนวทางเชิงบูรณาการสำหรับการพัฒนาการสร้างแบบจำลอง

Main Article Content

กิตติ เศรษฐวรพันธุ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมสำหรับการสร้างแบบจำลองภายในโดเมนเฉพาะกิจจากแบบจำลองทางความคิดนั้น หนึ่งในทางออกที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุดก็คือ การวางซ้อนแบบจำลองทางความคดิกับสิ่งแวดล้อมสำหรับ การสร้างแบบจำลองที่มีอยู่แล้วหรือภาษาหลักในการสร้างแบบจำลอง โดยพื้นฐานความคิดนี้นักพัฒนาแบบจำลองสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในรูปแบบต่างๆอาทิเช่น กล่องสร้างแบบจำลอง ชุดคำสั่งในโปรแกรมสร้างแบบจำลอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายองค์ประกอบต่างๆในแบบจำลองทางความคิดเพื่อที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมสำหรับการสร้างแบบจำลองภายในโดเมนเฉพาะกิจที่ตรงตามความต้องการของนักพัฒนาและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไรก็ตามแนวทางการวางซ้อนเช่นนี้ก็ไม่ได้ง่ายสักทีเดียว เนื่องจากไม่ได้อาศัยเพียงแค่กระบวนการแลกเปลี่ยนและเปรียบเทียบข้อมูลเท่านั้น ยังต้องอาศัยกรอบแนวคิดและรูปแบบที่ชัดเจนตามแนวทางของการวางซ้อนโดยนัยยะการออกแบบกล่องสร้างแบบจำลอง รวมทั้ง การสร้างแบบจำลองเชิงซ้อนซึ่งแนวทางทั้งหมดเหล่านี้หล่อหลอมรวมเป็นแนวทางเชิงบูรณาการสำหรับการพัฒนาการสร้างแบบจำลอง

คำสำคัญ: การวางซ้อนโดยนัยยะ การออกแบบกล่องสร้างแบบจำลอง การสร้างแบบจำลองเชิงซ้อน

Abstract

To establish a domain-specific simulationenvironment (DSSE) from conceptual simulationmodels (CSMs), one of the most efficient and easiestsolutions is to map CSMs onto an existing simulationenvironment or a host simulation language. Based onthis idea, a simulation developer can exploit availableresources (e.g., building blocks or callable functions)similar to the CSMs to develop one’s own domainspecific simulation environments that provide, e.g.,reusable model constructs/functions and their callable libraries. However, this mapping is not as easily done asit may seem. This is because mapping requires not only acommon layer for information/knowledge exchange butalso a framework and pattern for mapping. Methodologiessuch as ontology mapping, simulation block building,and visual subnetwork modeling have been applied todevelop an integrated approach that facilitates mappingin the modeling and simulation development.

Keywords: Ontological Mapping, SimulationBuilding Blocks, Subnetwork Modeling

Article Details

บท
บทความวิจัย