ผลกระทบของการดูดซับเสียงที่มีต่อคุณภาพเสียงภายในห้องเรียน

Main Article Content

Pasit Leeniva
Prapatpong Upala

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณร้อยละของพื้นผิวดูดซับเสียงภายในห้องเรียนกับค่าดัชนีทางเสียงสามดัชนีที่บ่งบอกคุณลักษณะทางเสียงของห้อง การวิจัยเป็นลักษณะวิจัยเชิงทดลองโดยเลือกพื้นที่การศึกษาห้องเรียนขนาดใหญ่ของสถาบันการศึกษาภาครัฐในประเทศไทย ห้องเรียนขนาดใหญ่นั้นหมายถึงห้องเรียนที่มีขนาดปริมาตรตั้งแต่ 288–566 ลูกบาศก์เมตร ทำการศึกษาห้องเรียนจำนวนหกห้องที่เป็นตัวแทนของแต่ละคณะภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตรวิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีการศึกษาเริ่มต้นตั้งแต่การสำรวจสภาพแวดล้อมกายภาพภายในห้อง มิติความกว้าง ลึก สูงของห้องรวมถึงขนาดของพื้นผิวดูดซับเสียง เพื่อนำมาคำนวนเป็นสัดส่วนร้อยละของพื้นผิวดูดซับเสียงภายในห้องเรียน (PAS) รวมถึงทำการวัดค่าระดับเสียงรบกวนพื้นหลัง (BNL) ค่าระยะเวลาก้องกังวาน (RT) และดัชนีการส่งผ่านการพูด (STI) โดยมีการอ้างอิงกับค่ามาตรฐาน ANSI S12.60 ผลจากการวิจัยพบว่า PAS มีความสัมพันธ์กับดัชนี STI รวมถึง RT และ BNL เมื่อในห้องเรียนมีวัสดุดูดซับเสียงจะทำให้ ค่า STI เพิ่มสูงขึ้น 6.12–20.39% แต่กลับมีผลทำให้ RT และ BNL ลดลง 1.45–16.54% และ 1.5–3.0% ตามลำดับ ซึ่งหมายถึงช่วยลดเสียงรบกวน ลดเสียงก้อง และช่วยเพิ่มความชัดเจนในการพูด นอกจากนี้เมื่อทดสอบค่าสหสัมพันธ์ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (p < 0.01) พบว่า PAS มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทิศทางเดียวกับดัชนี STI (r = 0.617) รวมถึงมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับดัชนี RT (r = –0.557) แต่ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนี BNL

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] R. Paradis, “Acoustic Comfort,” in Whole Building Design Guide, Washington, DC: National Institute of Building Sciences, 2014.

[2] S. K. Tang and M. H. Yeung, “Speech transmission index or rapid speech transmission index for classrooms? A designer's point of view,” Journal of Sound and Vibration, vol. 276, pp. 431–439, 2003.

[3] M. Klatte and J. Hellbruck, “Effects of classroom acoustics on performance and well-being in elementary school children: A field study,” presented at the 19th International Congress and Exposition on Noise Control Engineering, Lisbon, Portugal, June, 2010.

[4] E. Asutay, D. Vastfjall, A. Tajadura-Jimenez, A. Genell, P. Bergman, and M. Kleiner, “Emoacoustics: A study of the psychoacoustical and psychological dimensions of emotional sound design,” Journal of the Audio Engineering Society, vol. 60, no. 1, pp. 21–28, 2012.

[5] P. Leeniva and P. Upala, “Integration of psychoacoustics and activities in learning environment,” presented at the European Network for Housing Research (ENHR), Lisbon, Portugal, June 28–July 1, 2015.

[6] P. Larm, J. Keranen, R. Helenius, J. Hakala, and V. Hongisto, “Acoustics in open-plan offices - A laboratory study,” in Proceeding the Joint Baltic-Nordic Acoustics Meeting, 2004, pp. 2021–2025.

[7] J. P. Cowan, Handbook of Environmental Acoustics, Van Nostrand Reinhold: International Thomson Publishing Company, 1994.

[8] Sound absorption and sound absorption coefficients by the reverberation room method, ASTM Standards C423-90a, 1998.

[9] S. K. Tang and C. T. Wong, “Performance of noise indices in office environment dominated by noise from human speech,” Applied Acoustics, vol. 55, no. 4, pp. 293–305, 1998.

[10] P. H. Zannin and C. R. Marcon, “Objective and subjective evaluation of the acoustic comfort in classrooms,” Applied Ergonomics, vol. 38, pp. 675–680, 2007.

[11] Acoustical performance criteria, design requirements, and guidelines for schools, American National Standard - ANSI-S12.60, 2002.

[12] H. Fuchs, X. Zha, X. Zhou, and H. Drotleff, “Creating low-noise environments in communication rooms,” Applied Acoustics, vol. 62, pp. 1375–1396, 2001.

[13] W. Cabanaugh and J. Wikes, Architectural Acoustics: Principles and Practice. New York: John Wiley & Sons, 1998, pp. 21–22.

[14] IEC - Examples of STI qualification bands and typical applications, IEC standard 60268-16, 2011.

[15] E. Sala and V. Viljanen, “Improvement of acoustics conditions for speech communication in classrooms,” Applied Acoustics, vol. 45, pp. 81–91, 1995.