การศึกษาคุณสมบัติการกักเก็บความร้อนของมอร์ตาร์ปูนฉาบผสมวัสดุเปลี่ยนสถานะประเภทพาราฟินและโพลีเอทิลีนไกลคอล

Main Article Content

Tidarat Sutthiphasilp
Piti Sukontasukkul
Wonchalerm Chalodhorn

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลงานวิจัยด้านอุณหภูมิและการกักเก็บความร้อนของปูนฉาบผสมด้วยวัสดุเปลี่ยนสถานะ 2 ประเภทคือ พาราฟิน ชนิด 6035 (จุดหลอมเหลว 58 องศาเซลเซียส) และโพลีเอธิลีนไกลคอล ชนิด 1450 (จุดหลอมเหลวระหว่าง42–46 องศาเซลเซียส) โดยปูนฉาบที่ใช้ในการทดสอบประกอบด้วย มอร์ตาร์ฉาบธรรมดา (OM) มอร์ตาร์ฉาบผสมพาราฟิน(PPM) และมอร์ตาร์ฉาบผสมโพลีเอธิลีนไกลคอล (PEGM) ในสัดส่วนผสมต่างกัน การเตรยี มตัวอย่างเริ่มดว้ ยการฉาบมอร์ตาร์ลงบนบล็อกคอนกรีต ติดตั้งสายวัดอุณหภูมิ (Thermocouple) ที่ตำแหน่งต่างๆ ของตัวอย่าง และหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกจนถึงอายุทดสอบ สำหรับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ นำตัวอย่างทดสอบไปวางในตู้อุณหภูมิซึ่งมีสปอร์ตไลต์เป็นแหล่งให้ความร้อนจนผิวตัวอย่างมีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส จึงหยุดให้ความร้อนจากนั้น โดยทำการบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทุก 5 วินาที นำผลที่ได้ไปทำการวิเคราะห์เพื่อหาสัดส่วนผสมที่ดีที่สุดเพื่อนำไปทดสอบภาคสนามต่อไป การทดสอบภาคสนามเป็นการฉาบสัดส่วนผสมที่ผ่านการคัดเลือกจากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการลงบนผนังที่ก่อจากบล็อกคอนกรีตด้วยความหนา 1.5 เซนติเมตร และทำการวัดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมจริงเป็นระยะเวลา 5 วัน ผลการทดลองพบว่าผนังปูนฉาบที่มีสัดส่วนผสมของวัสดุเปลี่ยนสถานะมีความสามารถในการกักเก็บความร้อนไว้ที่ผนังได้ดีกว่า ส่งผลให้ระยะเวลาของการเข้าสู่อุณหภูมิสูงสุดมีการเลื่อนออกไป ส่งผลให้มีอุณหภูมิภายในที่ต่ำกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] P. Sukontasukkul, N. Nontiyutsirikul, S. Songpiriyakij, K. Sakai, and P. Chindaprasirt, “Use of phase change material to improve thermal properties of lightweight geopolymer panel,” Materials and Structures, vol. 49, no. 11, pp. 4637–4645, 2016.

[2] P. Sukontasukkul, E. Intawong, P. Preemanoch, and P. Chindaprasirt, “Use of paraffin impregnated lightweight aggregates to improve thermal properties of concrete panels,” Materials and Structures, vol. 49, no. 5, pp. 1793–1803, 2016.

[3] P. Meshgin, Y. Xi, and Y. Li, “Utilization of phase change materials and rubber particles to improve thermal and mechanical properties of mortar,” Construction and Building Materials, vol. 28, pp. 713–721, 2012.

[4] J. Paris, M. Falardeau, and C. Villeneuve, “Thermal storage by latent heat: a viable option for energy conservation in buildings,” Energy Sources, vol. 15, pp. 85–93, 1993.

[5] F. Kuznik, D. David. K. Johannes. and J. J. Roux, “A review on phase change materials integrated in building walls,” Renewable and Sustainable Energy Reviews, vol. 15, no. 1, pp. 379–391, 2011.

[6] A. R. Gennaro, Remington: The Science and Practice of Pharmacy. Mack Publishing Company, Easton, 1995.

[7] Siam City Cement, Technical Manual on Plastering Mortar, 2016.