การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้รถประจำทางไฟฟ้าสำหรับการขนส่งมวลชนระยะไกล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้รถประจำทางไฟฟ้าสำหรับการขนส่งมวลชนในระยะไกล โดยการศึกษาข้อมูล การสำรวจและรวบรวมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการใช้รถประจำทางไฟฟ้ามาใช้เพื่อการขนส่งสาธารณะระหว่างจังหวัด นำมาวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนใช้รถประจำทางไฟฟ้า โดยเลือกเส้นทางระหว่างจังหวัดจำนวน 3 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ–พัทยา กรุงเทพฯ–หัวหิน และกรุงเทพฯ–จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาสรุป 5 ด้านดังนี้ 1) ด้านนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซี่ยน ส่งเสริมให้มีการใช้และการผลิตที่เน้นผู้ประกอบการไทยมีการวิจัยพัฒนาตลอดจนสนับสนุนให้มีการลงทุน 2) ด้านการใช้งานรถโดยสารและการให้บริการ ซึ่งก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางไกลแต่การเก็บประจุของแบตเตอรี่ยังมีอายุน้อยในการชาร์ทแต่ละครั้ง 3)ด้านการใช้สถานีชาร์ทมีการอัดประจุทั้งแบบธรรมดาและการอัดประจุแบบเร็ว และการสลับแบตเตอรี่ 4)ด้านการยอมรับของผู้ประกอบการผู้ประกอบการมีความสนใจในการปรับเปลี่ยนมาผลิตรถประจำทางไฟฟ้าแต่ก็ยังกังวลในเรื่องความคุ้มค่า สมรรถนะรถการซ่อมบำรุงและการหยุดชาร์ทไฟระหว่างทาง และ 5) ด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน สามารถลดการนำเข้าน้ำมันที่ใช้ในการขนส่งมวลชนและสามารถลดต้นทุนด้านมลพิษได้ ส่วนทางด้านการเงินการลงทุนนั้น ที่ราคาน้ำมัน 23.50 บาท ค่าไฟฟ้า 5 บาท/kWh จะยังไม่มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับรถที่ใช้น้ำมันหรือก๊าซ NGV สำหรับข้อเสนอแนวทางและมาตรการสนับสนุนเชิงนโยบายได้กำหนดเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560–2561) เป็นการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและความพร้อมเพื่อรองรับการใช้งานรถบัสไฟฟ้าระหว่างจังหวัดระยะที่ 2 (พ.ศ. 2562–2564) ช่วงการพัฒนาและดำเนินการด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านการสนับสนุนทางการเงิน ด้านนโยบายและกฎหมายและด้านสังคมและบุคคลากร ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2565–2579) ช่วงขยายผลการใช้รถไฟฟ้าระยะไกลให้แพร่หลาย
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] A. Phonlaboot. (2016, June 2). Thailand’s Future as a Free Solar Power Center and Electric Vehicle in ASEAN, Thailand [Online]. Available: http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&ved=0ahUKEwjcz-aZpJzWAhWDuo8KHcunBjQQFggkMAA&url=https%3A%2F%2Fwww.spcg.co.th%2Fupload%2Fattach%2Fpress_8-6-58_%5B1%5D.pd f&usg=AFQjCNFSnHjmZgroaeTdol316hlGvt9_zA
[3] National Science and Technology Capability Thailand (NSTDA), “Roadmap of electric vehicle promotion in thailand 2558,” Pathum Thani, Thailand, 2015 (in Thai).
[4] Proterra Co. Ltd. (2016, Sep 6). Amarican Electric Bus [Online]. Available: http://www.whatcar.co.th/news/car-news/item/2688-electric-buswith-500-km-range-revealed.html
[5] BYD and Loxley. (2015, Mar 12). Electric Bus 100% [Online]. Available: http://www.bangkokbusclub.com/cms/archive/index.php/t-11874.html
[6] Inside EVs. (2015, July). Malaysia Launches World’s First Elevated Electric Bus Rapid Transit System [Online].Available: http://insideevs.com/malaysia-launches-worlds-first-elevated-electricbus-rapid-transit-system/
[7] A. Swadkij, “Study on Energy Saving in Passenger Buses by Engine Replacement and Fuel Change,” Department of Mechanical Engineering, Faculty of Engineering, Sripatum University, 2009 (in Thai).