การประมาณค่าข้อมูลสูญหายในการทดลองแฟกทอเรียล 2k กรณีไม่มีซ้ำ

Main Article Content

Kanidta Laphaphong
Vichit Lorchirachoonkul
Jirawan Jitthavech

บทคัดย่อ

ในการศึกษานี้ ได้เสนอวิธีการประมาณค่าข้อมูลสูญหาย 1 ค่า 2 วิธี ในการทดลองแฟกทอเรียล 2k ที่ไม่มีการทำซ้ำโดยวิธีที่ 1 ใช้ผลรวมกำลังสองของอิทธิพลร่วมอันดับสูงสุดมีค่าต่ำสุด และวิธีที่ 2 ใช้สัดส่วนของการเปลี่ยนแปลง จากการเปรียบเทียบมาตรวัด 3 ตัว คือ ร้อยละของค่าความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ของค่าประมาณของข้อมูลสูญหาย ค่าผลรวมกำลังสองและค่าประมาณอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ โดยใช้ตัวอย่างการทดลองแฟกทอเรียล 22, 23 และ 24 ในกรณีที่ไม่มีและมีข้อมูลสูญหาย พบว่า วิธีสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลง ให้ค่าประมาณค่าข้อมูลสูญหาย ค่าผลรวมกำลังสองและค่าประมาณอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ใกล้เคียงกับข้อมูลจริงมากกว่าวิธีผลรวมกำลังสองของอิทธิพลร่วมอันดับสูงสุดมีค่าต่ำสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์

References

[1] J. Jitthavech, Design and Analysis of Experiment, Bangkok: Thaipattana Raiwan Press Company Limited, 2009 (in Thai).

[2] P. Suwattatthee, Sample Surveys: Sampling Design and Analysis, Bangkok: WVO Office of Printing Mill The War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His Majesty the King, 2009 (in Thai).

[3] D. Montgomery, Design and Analysis of Experiments,5th ed., John Wiley and Sons, 2001.

[4] C. F. Jeff Wu and M. Hamada, Experiments: Planning Analysis and Parameter Design Optimization, John Wiley and Sons, 2000.

[5] N. Draper and D. Stoneman, “Estimating missing values in un-replicated two-leval factorial and fractional designs,” Journal of Biometrics, vol. 20, no. 3, pp. 443–458, 1964.

[6] M. Qumsiyeh and K. Kiechner, “Estimation methods for missing data in un-replicated 2k factorial and 2k-p fractional factorial designs,” Journal of Statistics: Advances in Theory and Applications, vol. 5, no. 2, pp. 131–147, 2011.

[7] Science Division, Dictionary of Statistics, Bangkok: Office of the Royal Society, 2015 (in Thai).

[8] G. Box, W. Hunter and J. Hunter, Statistics for Experiments, John Wiley and Sons, 1978.