การจัดสรรทรัพยากรบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ โดยใช้วิธีขยายขนาดเซิร์ฟเวอร์เสมือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การจัดสรรทรัพยากรเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ โดยปกติแล้วการจัดสรรทรัพยากรบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้นทำได้โดยการเพิ่มจำนวนเซิร์ฟเวอร์เสมือนแต่เนื่องจากวิธีนี้ระบบจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาคัดลอกอิมเมจไฟล์ การเตรียมระบบรวมถึงการเริ่มต้นระบบใหม่ ซึ่งใช้เวลารวมกันประมาณ 2-5 นาที ในงานวิจัยฉบับนี้นำเสนอการจัดสรรทรัพยากรบนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆโดยใช้วิธีขยายขนาดเซิร์ฟเวอร์เสมือน วิธีนี้จะทำการเพิ่มจำนวนหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำที่เซิร์ฟเวอร์ใช้ได้แทนการสร้างเซิร์ฟเวอร์เสมือนใหม่ จากการทดลองภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกันพบว่าการจัดสรรทรัพยากรตามวิธีที่เสนอมีเวลาในการตอบสนองน้อยกว่าการสร้างเซิร์ฟเวอร์เสมือนขึ้นใหม่ซึ่งมีเวลาในการตอบสนองที่มากกว่าข้อตกลงถึง 22.5เปอร์เซ็นต์ ด้วยวิธีการจัดสรรทรัพยากรโดยใช้วิธีขยายขนาดเซิร์ฟเวอร์เสมือนนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่ต้องการให้เวลาในการตอบสนองการประมวลผลน้อยกว่าเวลาตามข้อตกลงในทุกสถานการณ์
คำสำคัญ: การจัดสรรทรัพยากร การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
Abstract
Resource Provisioning is a key success factor ofCloud Computing. Generally new virtual server will becreated and attached to application environment thatrequires more resources. Using this method, it takes timeto move image of virtual server to physical server, prepareenvironment in physical server and start the virtual server.These processes normally take about 2-5 minutes. Inthis paper, we present Virtual Server Size ExpansionMethod to reduce resource provisioning time. Theproposed method will increase number of processorsand memory size of virtual server, instead of create newvirtual server. In the same experimental environment,it is found that the response of the proposed methodis lower than method with new virtual server thatresponse time more than 22.5% of SLA. Theproposed Virtual Server Side Expansion method can beapplied in cloud computing that requires responsetime under limit given in service level agreement in allsituations.
Keywords: Resource Provisioning, Cloud Computing
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น