การพัฒนาระบบจัดการบนพื้นที่ผลิตในโรงงานผลิตยางรถยนต์

Main Article Content

สถิตเทพ สังข์ทอง
ปารเมศ ชุติมา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่การพัฒนาระบบจัดการบนพื้นที่ผลิตเพื่อแก้ปัญหาการส่งสินค้าล่าช้าของโรงงานผลิตยางรถยนต์ซึ่งโรงงานกรณีศึกษามีลักษณะการผลิตแบบตามสั่ง และมีการไหลของงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นงาน งานวิจัยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการศึกษาหาสาเหตุของปัญหาภายในโรงงาน หลังจากนั้นจึงได้พัฒนาระบบการจัดการบนพื้นที่ผลิตขึ้น โดยใช้เครื่องมือ วิธีการ การควบคุมการผลิต และทฤษฎีการจัดการเกี่ยวกับระบบจัดการบนพื้นที่ผลิตในระบบควบคุมบนพื้นที่ผลิตนั้น มีการไหลของสองสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะที่ชิ้นงานกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานตามขั้นตอนของกระบวนการผลิตตามคำสั่งผลิต คือการไหลของวัตถุดิบ และการไหลของข้อมูล โดยการนำเสนอด้วยเทคนิค IDEF0 ผลลัพธ์ที่ได้คือ ระบบการจัดการบนพื้นที่ผลิตที่พัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับโรงงานกรณีศึกษาส่งผลให้การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในด้านการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ผลิต ยังสามารถเพิ่มความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่แน่นอนของลูกค้า และช่วยแก้ปัญหาความล่าช้าจากการส่งสินค้าลดลงจากเดิมมีสินค้าค้างส่งเฉลี่ย 17,107 เส้นต่อเดือน(มูลค่าความเสียโอกาส 20.52 ล้านบาทต่อเดือน)เหลือสินค้าเพียง 7,753 เส้นต่อเดือน (มูลค่าความเสียโอกาส 9.30 ล้านบาทต่อเดือน) ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สินค้าค้างส่งลดลงเมื่อเทียบจากเดิมถึง 54.68%

คำสำคัญ: การจัดการบนพื้นที่ผลิต ระบบควบคุมบนพื้นที่ผลิต โรงงานผลิตยางรถยนต์

Abstract

This research aims to develop the shop floormanagement system to solve the problem of delayeddelivery of a tire manufacturing factory. This researchemphasizes on the factory that produced by order, andthe flow of all product types is in the same directionfrom the start to the end of the job. The research startedfrom analyzing the data to determine the cause ofthe problem occurred within the plant and then, developinga shop floor management system by using productioncontrol and shop floor management theory. Theshop floor control system was represented by IDEF0technique. The result is, the shop floor managementsystem has been developed to fit the factory andhas been proven to be an efficient way to deal withproblems in the shop floor. It also providesflexibility in reaching customer’s uncertaintydemand. Moreover, it solves the shipment’s recliningproblem. The delayed number of tire is reduced, fromapproximately 17,107 units per month (Value of lostopportunity is 20.52 million Baht per month) to be only7,753 units per month (Value of lost opportunity is 9.30million Baht per month) which is 54.68% less thanthe previous system.

Keywords: Shop Floor Management, Shop FloorControl, Shop Floor Control System, TireManufacturing Factory

Article Details

บท
บทความวิจัย