การประเมินความต้องการใช้น้ำบาดาลของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร กรณีศึกษา อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Piramid Puttha
Chatchai Jothityangkoon
Sudchol Wonprasaid

บทคัดย่อ

ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้ผลผลิตของพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือการให้น้ำตามความต้องการของพืชอย่างเพียงพอ เสริมกับปริมาณน้ำฝนที่ได้รับ ดังนั้นการประเมินศักยภาพของแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้กับพืชได้อย่างเพียงพอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในกระบวนการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะหากเป็นแหล่งน้ำจากน้ำใต้ดิน การศึกษานี้ได้เลือกพื้นที่ 2 หมู่บ้านของอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา คือ บ้านด่านกอโจด ซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรต้องการใช้น้้ำเพื่อปลูกมันสำปะหลัง 106 ไร่ และบ้านแสงทอง กลุ่มเกษตรกรต้องการใช้น้ำเพื่อปลูกมันสำปะหลัง 46 ไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 14 ไร่ การประเมินปริมาณน้ำใต้ดินใช้หลายวิธีร่วมกันคือแผนที่น้ำบาดาล การสำรวจทางอุทกธรณีวิทยา และการสูบทดสอบปริมาณการให้น้ำของบ่อบาดาล พบว่ามีอัตราการให้น้ำบาดาล 14 และ 16 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ที่บ้านด่านกอโจด และบ้านแสงทองตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความต้องการใช้น้ำของพืชที่ต้องการปลูกกับปริมาณน้ำใต้ดินที่สามารถนำขึ้นมาใช้ได้อย่างยั่งยืนร่วมกับปริมาณฝนในปีน้ำมาก ปีน้ำปกติ และปีน้ำน้อย ตามหลักสมดุลของน้ำ พบว่ามีความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร ทั้งนี้หากมีความเปลี่ยนแปรของฝน ทำให้บางปีเป็นปีน้ำปกติและปีน้ำน้อย ปริมาณน้ำใต้ดินไม่เพียงพอ แผนการเพาะปลูกยังสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยการเลื่อนเวลาการปลูกและหรือการลดพื้นที่ปลูก

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] Office of Agricultural Economics, “Agricultural statistics of Thailand 2013,” pp. 214, 2014 (in Thai).

[2] S. Wonprasaid, “Drip irrigation for cassava plantation,” Institute of agricultural, Suranaree University of Technology, pp. 57, 2015 (in Thai).

[3] V. Ramnarong and S. Wongsawat, “Groundwater resources in Thailand,” Thai Hydrologist Association Journal, vol. 1, pp. 1–6, 1999 (in Thai).

[4] S. Koontanakulvong, “Groundwater management in north part of lower central plain,” Public policy series No. 3, Thailand Research Fund (TRF), pp. 47, 2003 (in Thai).

[5] S. Kazama, T. Hagiwara, P. Ranjan, and M. Sawamoto, “Evaluation of groundwater resources in wide inundation areas of the Mekong River basin,” Journal of Hydrology, vol. 340, pp. 233–243, 2007.

[6] S. Chaiyakhot, “Economic analysis of system for agriculture in Moo 9 and Moo 14, Esingsag sub-district, Esingsag district, Nakhon Ratchasima,” M.S. thesis, Suranaree University of Technology, 2011 (in Thai).

[7] Department of Groundwater Resources. (2013, September). Groundwater development project for drought affected area in 2013 [Online]. Available: Available: http://www.dgr.go.th/Agriculture56/object.php

[8] Department of Groundwater Resources. (2013, September). Groundwater map for Tambon Nong Mai Pai, Nongbunnak district, Nakhon Ratchasima province [Online]. Available: http://gcl.dgr.go.th/Map_of_Groundwater/Nakhon_Ratchasima/31/8.pdf.

[9] Department of Groundwater Resources. (2013, September). Groundwater map for Tambon Nong Takai, Nongbunnak district, Nakhon Ratchasima province [Online]. Available: http://gcl.dgr.go.th/Map_of_Groundwater/Nakhon_Ratchasima/31/5.pdf.

[10] V. T. Chow, D. R. Maidment, and L. W. Mays, “Chapter 3 atmospheric water,” in Applied Hydrology, McGraw-Hill, 1988, pp.53–98.

[11] Royal Irrigation Department Thailand, “Crop water requirement,” Reference crop evapotranspiration & Crop coefficient handbook, pp. 130, 2011 (in Thai).

[12] Royal Irrigation Department Thailand, “Crop coefficient (Kc) of Penman-Monteith,” Bangkok, Thailand, 2012 (in Thai).

[13] Southeast Asia Technology (Seatec) Co. Ltd., Consultants of Technology Co., Ltd., Phisut Technology Co., Ltd., Lotus Consultants Co., Ltd., Progress Technology Consultants Co., Ltd., Lotus Park Coperation Co., Ltd., Thara Consultants Co., Ltd., and Dewi Plus Co., Ltd., “Criteria report of water demand study for the feasibility study of water network project in 19 critical area,” Department of water resources, 2011 (in Thai).

[14] Royal Irrigation Department Thailand, “Work Mannual No. 6/16 Calculation of effective rainfall,” pp. 20, 2011 (in Thai).

[15] W. Pratoomchai, S. Kazamab, C. Ekkawatpanitc, and D. Komorid, “Opportunities and constraints in adapting to flood and drought conditions in the Upper Chao Phraya River basin in Thailand,” International Journal of River Basin Management, vol. 13 pp. 1–15, 2015.